เป็นคำถามที่เจอได้บ่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นกับคนใกล้ตัวหรือเป็นคำถามที่ถามกันในเว็บไซต์ยอดฮิตอย่าง Pantip เพราะการผิดเงื่อนไขของการซื้อขายกองทุน LTF กับ RMF นั้น ถือเป็นเรื่องหนักอกอยู่ไม่น้อย สำหรับมนุษย์เงินเดือนอย่างๆ เรา เพราะเวลาเจอค่าปรับจากสรรพากรทีก็หลายบาทอยู่ เรามาลองดูเงื่อนไขและเมื่อทำ ผิดเงื่อนไขกองทุน RMF กับ LTF แล้วเราจะเจออะไรบ้าง
เรามาเริ่มที่ของยากกันก่อนดีกว่า คือ กองทุน RMF ที่มีเงื่อนไขทั้งตอนซื้อและตอนขายเลย
-
ต้องลงทุนต่อเนื่องทุกปี แต่สรรพากรอนุโลมให้ซื้อแบบปี เว้นปีได้
-
ต้องลงทุนขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 3% ของเงินได้หรือ 5,000 บาท แล้วแต่จำนวนใดจะต่ำกว่า
-
ต้องลงทุนและถือหน่วยลงทุนจนผู้ลงทุนอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และมีการลงทุนมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ซื้อหน่วยลงทุนครั้งแรก
ยกตัวอย่างเช่น เราต้องการซื้อกองทุน RMF ตอนที่เราอายุ 36 ปี มีรายได้ต่อปี 360,000 บาท ดังนั้นเราสามารถซื้อกองทุน RMF ได้อย่างน้อยปีละ 5,000 บาท เพราะว่า 3% ของเงินได้เราจะเท่ากับ 10,800 บาท โดยเริ่มซื้อปี 2558 เป็นปีแรก เพราะตารางการลงทุนในกองทุน RMF ของเราจะเป็นแบบนี้
จากตารางเราจะเห็นได้ว่าปี 2563 เราไม่ได้ซื้อกองทุน RMF ก็ถือว่ายังไม่ผิดเงื่อนไข เพราะสรรพากรอนุโลมให้เราสามารถซื้อกองทุน RMF แบบปีเว้นปีได้ แต่พอมาปี 2564 เราลืมซื้อกองทุน RMF อีก แบบนี้จะถือว่าเราผิดเงื่อนไขการถือครอง เพราะเราซื้อกองทุนไม่ต่อเนื่อง เราก็ต้องเอาภาษีที่เคยจ่ายย้อนหลังไปแล้วคืนให้กับสรรพากรภายในเดือนมีนาคม 2565 และเมื่อเรามีอายุครบ 55 ปี ในปี 2577 และขายกองทุนที่ซื้อมาตั้งแต่ปี 2558-2562 ออกไป สิ่งที่เราต้องทำ คือ ต้องนำกำไรที่ได้จากการขายกองทุนปี 2558-2562 มารวมคำนวณภาษีด้วย เพราะเราดันลืมซื้อติดต่อกันในปี 2563 และ 2564
ส่วนกองทุนที่ซื้อปี 2565-2577 ถ้าทำตามเงื่อนไขถูกต้องก็ยังได้รับสิทธิยกเว้นภาษีในส่วนของกำไรจากการขายกองทุนตามเกณฑ์ที่สรรพากรกำหนด แต่ถ้าปี 2577 ที่เรามีอายุครบ 55 ปี แล้วเราไปขายกองทุนที่ซื้อในปี 2574-2577 ออกไปด้วยล่ะก็ เราจะต้องคืนภาษีที่ได้รับยกเว้นทั้งหมดให้กับสรรพากร ภายในเดือนมีนาคม 2578 เพราะถือว่าเราผิดเงื่อนไขในการขายคืนเนื่องจากถือกองทุนไว้ไม่ถึง 5 ปี
สำหรับการผิดเงื่อนไขในการลงทุนกองทุน LTF มีเงื่อนไขในการลงทุนเพื่อให้ได้ประโยชน์ทางภาษี คือ ต้องซื้อและถือหน่วยลงทุนไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี และนับอายุแบบไม่ต้องวันชนวัน
เช่น ซื้อกองทุน LTF วันที่ 29 ธันวาคม 2558 เราจะขายกองทุนในวันที่ 2 มกราคม 2562 ได้เลย โดยที่ไม่ต้องรอให้ถึงวันที่ 29 ธันวาคม 2563 แต่ถ้ากฎหมายใหม่ประกาศใช้เมื่อไร การนับอายุของกองทุนรวม LTF ก็จะต้องเป็นแบบวันชนวัน ซึ่งจากตัวอย่างเดิมแทนที่เราจะขายได้ภายในวันที่ 2 มกราคม 2562 เราก็จะต้องรอให้ถึงวันที่ 29 ธันวาคม 2563 ก่อนถึงจะขายได้
แต่บทความนี้ขอยกตัวอย่างตามวิธีการนับอายุการถือครองกองทุน LTF แบบเดิมไปก่อน ซึ่งการทำผิดเงื่อนไขคือ เราขายกองทุน LTF ก่อนวันที่ 2 มกราคม 2562 สิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมาคือ เราต้องคืนเงินภาษีที่ได้รับยกเว้นทันทีที่รู้ตัวว่าผิดเงื่อนไข เพราะว่าเราต้องจ่ายเงินเพิ่มในอัตรา 1.5% ของจำนวนเงินภาษีที่ได้รับยกเว้น โดยนับตั้งแต่เดือนเมษายนของที่ยื่นภาษีจนถึงเดือนที่มีการยื่นคืนเงินภาษี และนำเฉพาะส่วนที่ผิดเงื่อนไขมาคำนวณเท่านั้น และถ้ามีกำไรจากการขายกองทุนก็ต้องเสียภาษีด้วยภายในเดือนมีนาคมของปีถัดไป
ยกตัวอย่างเช่น
- วันที่ 29 ธันวาคม 2558 เราซื้อกองทุน LTF 2 กองทุน กองทุนละ 10,000 บาท ก็จะรวมเป็น 20,000 บาท และได้รับสิทธิลดหย่อนภาษี 2,000 บาท
- แต่พอมาวันที่ 29 ธันวาคม 2561 เราเผลอไปขายกองทุน LTF ออกไป 1 กองทุนจำนวน
ดังนั้นสิ่งที่เราจะต้องทำทันที คือ ในวันที่ 30 ธันวาคม 2561 ไปทำเรื่องคืนเงินภาษีจำนวน 1,000 บาทกับสรรพากรทันที เพราะเราจะต้องจ่ายเงินเพิ่มที่นับระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2559-30 ธันวาคม 2561 ด้วยจำนวนเงินประมาณ 15,045 บาท อีกทั้งกำไรที่ได้จากการขายกองทุน LTF เรายังจะต้องมาเสียภาษีเพิ่มอีกด้วย
เพราะฉะนั้นทางที่ดีเราควรจะตั้งโปรแกรมการซื้อ-ขายกองทุน RMF และ กองทุน LTF ของเราให้ดี หากมีปัญหาการซื้อ-ขายกองทุนก็ควรจะติดต่อกับ บลจ.ที่เราเป็นลูกค้า เพื่อที่จะได้รับคำแนะนำในการลงทุนที่ถูกต้อง
อ่านเพิ่มเติม >> ตัวช่วยมนุษย์เงินเดือน แอพคำนวณภาษี <<