ทุกวันนี้ไม่ว่าคุณจะไปทางไหนก็มักจะมีแต่คนบ่นว่า เศรษฐกิจไม่ดี ให้เราได้ฟังเสมอ ไม่ว่าจะเป็นคนรอบข้าง ในสื่อออนไลน์ หรือแม้แต่กับพ่อค้าแม่ค้าที่เราซื้อของทุกวัน ก็เริ่มที่จะบ่นให้เราฟังถึงยอดขายที่ลดน้อยลงว่าเป็นเพราะแต่เศรษฐกิจที่ไม่ดีทำให้คนซื้อสินค้าน้อยลง หรือว่าทั้งหมดเป็นการคิดไปกันเองแน่ของผู้คนส่วนมาก? แต่ปัญหาดังกล่าวนี้เราเองก็มักได้ยินอยู่บ่อยครั้งอยู่แล้ว เพราะน้อยครั้งมากที่เราจะได้ยินใครบอกว่าเราว่าตอนนี้เศรษฐกิจดีซึ่งเราแทบไม่เคยยินเลย บางครั้งมันไม่ใช่ปัญหาที่เราต้องการคำตอบว่าจริงหรือไม่ แต่เราต้องการวิธีการมากกว่าว่าเราจะรับมืออย่างไรดีต่างหาก เพราะว่าทุกวันนี้ทุกสาขาอาชีพล้วนแต่มีความไม่แน่นอนด้วยกันทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นพนักงานบริษัทเอกชน พ่อค้าแม่ค้า หรือแม้แต่ข้าราชการ เราจึงไม่ควรประมาทในทางการเงินเพราะนั้นคือหนทางสู่ความยากจน และทุกวันนี้โลกเคลื่อนไหวไปเร็วมากเราจึงควรปรับตัวในทันโลกโดยเฉพาะในเรื่องของการออม
แนวทาง 4 ข้อในการออม
- หารายได้ให้มากขึ้น
ข้อนี้เป็นสิ่งที่ยากและต้องใช้เวลาเปรียบเทียบคล้ายกับเงินเดือนของมนุษย์เงินเดือนอย่างเราๆ ท่านๆ ที่ต้องอาศัยประสบการณ์เพื่อให้มีเงินเดือนเพิ่มมากขึ้น ในระยะเวลาอันสั้นนั้นคงทำได้ไม่ง่ายนัก เพราะในกรณีรายได้ประจำสิ่งที่สำคัญและเป็นตัวแปรคือเวลา แต่สิ่งที่จะสามารถทำได้เลยในขณะนี้นั้นคือการรักษาแหล่งรายได้ประจำนี้ไว้ เพื่อรอโอกาสที่พร้อมจะเปลี่ยนแปลง เช่น การเลื่อนตำแหน่ง การย้ายงาน ดังนั้นเราจึงควรตั้งใจทำงานประจำของเราให้ดีก่อนเพื่อเป็นการรักษาแหล่งรายได้หลักเอาไว้ แต่หากเรามีโอกาสในการมองหาลู่ทางในการเพิ่มรายได้ที่ไม่กระทบงานประจำและสามารถทำได้ เราก็ควรคว้าไว้เพื่อให้เรามีรายได้เสริมและเป็นเงินออมอีกทาง เช่น การขายสินค้าออนไลน์ ,การเขียนบทความขาย การทำงานล่วงเวลา OT,การขายของหลังเลิกงาน ก็ควรทำหากเมื่อเรามีโอกาสแต่ต้องไม่กระทบกับงานประจำของเรา
- เก็บเงินให้มากขึ้น
การออมต้องเปลี่ยนแปลงได้อย่างเหมาะสม เงินออมจะต้องเป็นเงินไม่ใช่เงินที่เหลือจากการใช้จ่าย แต่เรานั้นควรกำหนดว่าจะออมต่อเดือนเท่าไรเพื่อให้เหมาะสมกับรายได้ เช่น ควรออมอย่างน้อย 15%-20% ของรายได้ และหลังจากนั้นเหลือเท่าไรจึงจะเป็นค่าใช้จ่าย ซึ่งหากค่าใช้จ่ายต่างๆ ในแต่ละเดือนเหลือจึงนำมาเก็บออมเพิ่ม
- ใช้จ่ายให้น้อยลง
ข้อนี้ถือเป็นข้อที่ยากสำหรับการลงมือทำเพราะรายจ่ายทุกอย่างเรามักมีเหตุผลมาลองรับเสมอทุกครั้งที่จ่ายว่านั้นคือรายจ่ายที่จำเป็น สิ่งที่ควรทำจึงควรเป็นการปรับพฤติกรรมของตัวเราเองในการใช้จ่าย บางครั้งการรักในความสะดวกสบายเล็กน้อยก็ทำให้เรามีรายจ่ายเพิ่มขึ้นโดยไม่จำเป็น เช่น การนั่งรถแท็กซี่เพราะขี้เกียจที่จะรอรถประจำทาง,การสั่งอาหารมาทานที่ห้องเพราะแดดร้อนไม่อยากเดินลงไปทานเอง,การเปิด – ปิด เครื่องปรับอากาศไว้ทั้งวันเพราะอากาศร้อน ฯลฯ นี้ก็เป็นรายจ่ายเล็กๆ น้อยๆ ที่เมื่อรวมกันแล้วก็ถือว่าเป็นรายจ่ายพอสมควร
- การจดบันทึกค่าใช้จ่ายต่างๆ
ทุกเดือนโดยอาจจะจดเป็นบันทึกง่ายๆ แบบรายรับ – รายจ่าย แต่ต้องแยกให้ชัดเจนว่าในแต่ละเดือนมีรายได้เท่าไรและมีรายจ่ายต่างๆ เท่าไร เพราะการจดบันทึกจะช่วยทำให้เรามองเห็นภาพชัดเจนในการใช้จ่ายของเราและทำให้เราสามารถแยกรายจ่ายที่จำเป็นและไม่จำเป็นออกจากกัน ตรงนี้จะทำให้เราสามารถลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นออกไปได้ ที่สำคัญหากเราเกิดการกู้หนี้ยืมสินในระหว่างเดือนเราก็ควรจดในส่วนนี้ไว้ด้วยเพื่อในเห็นถึงหนี้สินแยกออกมาจากค่าใช้จ่าย
ในขั้นแรกของการออมเราควรมีเงินเพื่อสำรองสำหรับกรณีฉุกเฉิน เช่น การเจ็บป่วย การตกงาน หรือพวกรายจ่ายที่มาแบบกะทันหัน อย่างน้อยประมาณ 3-7 เดือน ซึ่งเมื่อเรามีเงินก้อนนี้แล้วเราจึงมาเริ่มหาแนวทางในการลงทุนเพื่อให้เงินในส่วนต่อไปที่นอกจากเงินที่ออมไว้สำหรับกรณีฉุกเฉินมีการงอกเงย โดยหาแนวทางการลงทุนที่เหมาะสมกับเราไม่ว่าจะเป็น การฝากประจำ,หุ้นกู้,กองทุนรวม,หุ้น,การทำประกันชีวิต เป็นต้น เพราะแต่ละคนยอมรับความเสี่ยงได้ไม่เท่ากัน จึงควรหาแนวทางในการลงทุนที่เหมาะสมกับตนเอง เพราะไม่ว่าในยุคที่ เศรษฐกิจดี หรือ เศรษฐกิจไม่ดี อย่างไรการวางตนอย่างไม่ประมาทย่อมเป็นหนทางที่ดีที่สุดครับ