สำหรับคนที่มีครอบครัวแล้วการเก็บเงินเพื่อไว้ใช้จ่ายในครอบครัวหรือเก็บไว้สำหรับใช้ฉุกเฉินของแต่ละบ้านย่อมมีเทคนิคแตกต่างกัน สำหรับตัวผู้เขียนแล้วสามีให้ภรรยาเป็นผู้เก็บเงิน สามีไม่ค่อยมาก้าวก่ายเรื่องนี้นัก ซึ่งถือว่าเป็นโชคดี แต่ก็ทำงานนอกบ้านมีเงินเดือนเองด้วย เพราะอยากทำงานในช่วงที่มีแรงและยังมีโอกาสอยู่ การเก็บเงินอาจจะทำได้ยากเพราะคนมีครอบครัวมีรายจ่ายมากมายที่ต้องรับผิดชอบ
การเก็บเงินของแต่ละบ้านย่อมมีเทคนิคที่แตกต่างกัน บางคนอาจจะเก็บมาก 50%-60% ของรายได้ แต่บางคนอาจจะเก็บได้เพียง 20%-30% เพราะว่ามีรายจ่ายสูง ไม่ว่าจะเป็นค่ากินอยู่ค่าน้ำค่าไฟ หรือมีภาระต้องผ่อนบ้าน ผ่อนรถ การเก็บเงินนั้นมีเพื่อที่จะเป็นเงินออมเอาไว้ใช้ยามฉุกเฉิน หรือเมื่อแก่เฒ่าก็เก็บไว้จ้างคนมาดูแลหรือไปอยู่บ้านพักคนชรา นอกจากนี้ค่าเทอมลูกมีรายจ่ายสูงมาก โดยเฉพาะการส่งลูกเข้าเรียนอินเตอร์ค่าเทอมต่อปีก็เป็นล้านบาท แต่ถ้าให้เรียนโรงเรียนภาคไทย ก็จะมีค่าใช้จ่ายในแง่กิจกรรมพิเศษของโรงเรียน ไปงานแต่งงาน งานบวช งานศพ ต่างเป็นค่าภาษีสังคมที่ต้องจ่ายดังนั้นเราจึงต้องวางแผนการเก็บเงินให้ดี ไม่อย่างนั้นจะใช้จ่ายเกินตัวได้เช่นกัน
เทคนิคส่วนตัวที่สามารถนำมาแบ่งปันให้ได้มีดังนี้
-
ตั้งเป้าหมายการเก็บเงินให้ชัดเจน
เช่นตั้งเป้าหมายว่าปัญชีนี้จะเป็นค่าเทอมลูกบำรุงการศึกษาแล้วเราก็ตั้งใจเก็บให้เต็มที่ โดยอาจจะเลือกบัญชีที่มีดอกเบี้ยสูงอาจจะเป็นฝากประจำหรือออมทรัพย์มีแต่ได้ หรืออาจจะนำเงินไปลงทุนกองทุนที่มีผลกำไรสูงเช่นกองทุนเกี่ยวกับสุขภาพ โดยตั้งใจว่าจะเก็บให้ได้อย่างน้อย 30% ของรายได้ในทุก ๆ เดือน และแยกบัญชีเงินฝากไว้ตามวัตถุประสงค์จะได้เก็บตั้งได้เต็มที่ไม่ปะปนกัน จะได้มุ่งเป้าหมายได้อย่างเต็มที่
-
พยายามหารายได้หลาย ๆ ทาง
นอกจากเงินเดือนประจำแล้วคุณพ่อคุณแม่จำเป็นต้องกระจายความเสี่ยง อาจจะหารายได้พิเศษอื่น ๆ เช่น การลงทุนซื้อคอนโดปล่อยเช่า หรือให้เช่าโกดัง ทาวน์เฮ้าส์ ตึกแถว หรือ หางานพิเศษทำ เพื่อไม่ให้เป็นความเสี่ยงถ้าเกิดตกงาน พอได้เงินมาก็ต้องรีบเก็บหรือนำไปลงทุนในกองทุนที่ไม่เสี่ยงจนเกินไป หรือลงทุนทั้งกองทุนในไทยและกองทุนต่างประเทศที่มีความไว้วางใจ หรืออาจจะขายของออนไลน์แบบไม่ต้องมี stock จะได้เงินไม่จม
-
ทำกับข้าวกินเองที่บ้าน
การทำกับข้าวกินเองประหยัดเงินมากกว่า เช่น เงิน 300 บาทสามารถซื้อวัตถุดินมากทำกินได้ 3-5 วัน แต่ว่าถ้าไปกินข้าวนอกบ้านกินได้เพียง 1 มื้อ แล้วยังต้องจ่ายค่าบริการ service charge อีก 10% และ ภาษี อีก 7% เยอะมากจริง ๆ อย่างน้อยต้องเตรียมเงิน 1,000 บาทสำรองไว้ นอกจากนี้การทำกับข้าวกินเองยังปลอดภัยกินผักเพื่อสุขภาพได้มากกว่า
-
ติดตามข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการจัดโปรโมชั่น (Sales)
เราจะได้ซื้อของในราคาพิเศษถูกกว่าทั่วไป ซึ่งประหยัดเงินได้มากอาจจะลดราคาอีก 50% หรือ 70% ส่วนเงินที่เราซื้อของราคาถูกกว่าก็จะได้เก็บเงินไว้ซื้อของเข้าบ้าน ค่าเทอมลูก หรือเก็บเงินซื้อบ้าน คอนโดหลังใหม่
-
พยายามซื้อของตาม Hyper Market
เช่น Tesco Lotus หรือ Big C เพราะจะมีราคาถูกกว่าซูเปอร์มาเก็ตอื่น ๆ ทั่วไป อาจจะวางแผนไปอาทิตย์ละครั้งเพื่อที่จะประหยัดค่าเดินทาง และพยายามหาสาขาที่ใกล้บ้านจะได้เดินทางสะดวก รถไม่ติด หรืออาจจะดูสินค้าที่ซื้อ 2 ชิ้นถูกกว่าเพื่อเป็นการประหยัดงบอีกด้วย
-
เลือกเปิดบัญชีเงินฝาก ที่บังคับให้ฝากทุกเดือน
ยกตัวอย่างเช่น ME TMB ที่ให้ดอกเบี้ยสูงกว่าบัญชีออมทรัพย์ทั่วไป เพราะไม่มีธนาคารตามสาขา ต้องติดต่อผ่านเว็บไซต์หรือcall center เท่าทั้น ทำให้ต้นทุนต่ำกว่าธนาคารอื่น ๆ ต้องฝากมากกว่าถอนในแต่ละเดือนถึงจะได้ดอกเบี้ยโบนัส มากกว่าปกติ หรือว่าอาจจะฝากเงินกับธนาคารที่บังคับให้เราต้องฝากเงินในทุก ๆ เดือน เป็นระยะเวลา 2 ปี