หลังจากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จสู่สวรรคาลัย เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2016 นอกจากจะทำให้พสกนิกรชาวไทยได้สูญเสียกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ พ่อของแผ่นดินซึ่งยังคงนำความเศร้าโศกกันทั้งประเทศ รวมถึงทั่วโลก ที่ต่างแสดงความไว้อาลัยในการจากไปของพระองค์ท่าน อีกสิ่งหนึ่งที่ทำให้ทั่วโลกจับตามองนอกเหนือจากการสถาปนากษัตริย์พระองค์ใหม่คือเศรษฐกิจของเมืองไทยนั่นเอง เพราะมีบริษัทหลายแห่งที่ต้องดรอปการผลิตลงไปแบบไม่น่าเชื่อ หุ้นหลายหุ้นต่างก็พากันหวั่นๆ กับสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตต่อไป รวมถึงการลงทุนจากต่างประเทศ ที่จะต้องจับตาดูศักยภาพการปกครองของเมืองไทย ว่าจะมีความเข้มแข็งหรือไม่ จะมีใครกล้าเข้ามาลงทุนหรือไม่และจะมีเหตุการณ์ใดๆ เกิดขึ้น หรือเกิดความไม่สงบเหมือนที่ผ่านมาหรือเปล่า เรียกได้ว่ามีการคาดเดากันไปต่างๆ นานา
ความเปลี่ยนแปลงของตลาดหุ้นหลังพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ เสด็จสู่สวรรคาลัย
แม้แต่สำนักข่าวเอพี ยังทำการวิเคราะห์เศรษฐกิจไทยยังไม่ชัดเจนหลังในหลวง รัชกาลที่ ๙ เสด็จสู่สวรรคาลัย ส่วนหุ้นและค่าเงินยังแกว่ง พร้อมเปิดเผยว่าปิดตลาดหุ้นบวก 59.12 จุด ซึ่งสำนักข่าวเอพีได้ทำการวิเคราะห์ภาวะเศรษฐกิจไทยในช่วงวิกฤตินี้ว่า ทุกอย่างยังไม่มีความคืบหน้าหรือชัดเจน แต่ก็มีองค์ประกอบหลายประการที่จะต้องทำการพิจารณา ส่วนทางผู้ว่าธปท.ขอความร่วมมือสื่อต่างๆ ช่วยกรองข่าวก่อนนำเสนออกไป เพื่อเป็นการป้องกันการตื่นตระหนก พร้อมเผยตลาดหุ้นไทยปิดตลาดช่วงวันที่ 14 ตุลาคมบวก 4.18 % เพิ่มขึ้น 59.12 จุด ซึ่งสำนักข่าวเอพีรายงานจากกรุงเทพฯ ถึงการวิเคราะห์ผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจไทยเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2016 ที่ผ่านมาว่ายังมีความไม่ชัดเจน (Likely impact of Thai king’s death on economy unclear) หลังจากพระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเสด็จสู่สวรรคาลัย และมีการระบุว่าตลาดหุ้นและค่าเงินบาทยังมีความแกว่งตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมาหลังข่าวของพระองค์ท่านทรงถูกเผยแพร่ออกมาทั่วโลก
นักวิเคราะห์ชี้ หลังไม่มีพ่อหลวง บ้านเมืองยังคงสงบ
ราคาหุ้นซึ่งตลาดหุ้นไทยเริ่มมีการลดลงหลังจากที่สำนักพระราชวังออกแถลงการณ์ที่พระอาการทรุดลง ถือเป็นครั้งแรกที่แถลงการณ์ จนกระทั่งพระองค์ท่านเสด็จสู่สวรรคาลัย ซึ่งภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศไทยนั้น พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ แต่ไม่มีการเกี่ยวข้องกับการเมือง ซึ่งพระองค์ทรงเป็นศูนย์รวมของจิตใจชาวไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อสถานการณ์การเมืองไทยเกิดภาวะวิกฤติ ทำให้นักวิเคราะห์เชื่อว่าประเทศไทยจะยังคงสงบสุข เหตุเพราะพสกนิกรยังอยู่ในอาการเศร้าโศกและการไว้ทุกข์ และเชื่อว่าคงไม่มีกลุ่มไหนที่อยากจะเข้ามามีปัญหากับคสช. แต่ยังมีบางคนเฝ้ารอถึงการเสด็จขึ้นครองราชย์ของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯสยามมกุฎราชกุมารต่อจากพระราชบิดา ทำให้หลายคนเชื่อว่าอาจจะมีความแตกต่างกันไป
แต่นักวิเคราะห์กลุ่มยูเรเซีย( the Eurasia Group)กล่าวว่าการเลือกตั้งทั่วไปกำหนดไว้ปี 2017 อาจจะมีการเลื่อนออกไปถึงต้นปี 2018 เพราะมีการประกาศไว้ทุกข์ 100 วัน ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมโดยรวมทางธุรกิจ แต่กระนั้นเศรษฐกิจประเทศไทยยังต้องพึ่งพิงการส่งออกอย่างมาก ปัจจุบันความต้องการของตลาดหลักอย่างจีนและสหรัฐกลับมีความต้องการลดลง แม้ประเทศไทยจะประกาศว่าจะลดความยากจนลง แต่ธนาคารโลกกลับชี้ว่าคนไทยประมาณ 10 % ที่ยังคงตกอยู่ในภาวะยากจน ทำให้อัตราความเติบโตทางเศรษฐกิจอาจไม่ถึง 3 % และหากการตัดสินใจล่าช้าอาจทำให้อัตราการบริโภคลดลงซึ่งในช่วงที่อยู่ในระหว่างไว้ทุกข์ แต่เชื่อว่าผู้นำคงหลีกเลี่ยงไม่ให้เศรษฐกิจเกิดความยุ่งเหยิง เพราะแม้ว่าจะมีการแถลงว่าวันที่ 13 ตุลาคม พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จสู่สวรรคาลัย แต่วันที่ 14 ตุลาคมตลาดก็ยังเปิดดำเนินการ ซึ่งนักวิเคราะห์เชื่อว่าการเปลี่ยนผ่านรัชกาลครั้งนี้น่าจะเป็นไปอย่างนุ่มนวลและไม่มีปัญหาใดๆ แต่การไร้เสถียรภาพอาจจะเกิดได้ระหว่างคนเมืองที่มีอิทธิพลในการกำหนดสิ่งต่างๆ กับคนในชนบทที่ยังยากจน และหากมีการประท้วงเกิดขึ้นจะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่ทำรายได้มากถึง 10 % ของจีดีพี
ธนาคารแห่งประเทศไทย พร้อมดูแลเรื่องตลาดการเงินของประเทศ
ที่ผ่านมาเป็นช่วงเวลาที่ยากลำบากของคนไทยทั้งประเทศ เพราะมีบางเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบทำให้ตลาดเงินและตลาดทุนของไทยเกิดความผันผวนอย่างมาก ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยพร้อมที่จะให้การสนับสนุนทั้งในรูปแบบของเงินบาทและเงินดอลล่าร์สหรัฐและยืนยันจะติดตามสถานการณ์ตลาดเงินของไทย รวมทั้งตลาดเงินตราต่างประเทศและตลาดพันธบัตรอย่างใกล้ชิด เพราะจะต้องทำการพิจารณาถึงความมั่นใจของตลาดให้เป็นไปอย่างราบรื่นและเป็นปกติที่สุด หากประเทศมีความต้องการสภาพคล่องเพิ่มขึ้น ธนาคารแห่งประเทศไทยก็พร้อมดูแลให้ตลาดการเงินของประเทศเพื่อให้สามารถดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่อง แม้ในอดีตนั้นประเทศไทยเคยเกิดเหตุการณ์ไม่สงบ อย่างการชุมนุมประท้วง ส่งผลทำให้ประเทศเสียหายในการแข่งขันด้านต่างๆ รวมทั้งการก่อสร้างสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่ทำให้เกิดการหยุดชะงักส่งผลทำให้นักลงทุนหายไป สิ่งนี้ถือว่าเป็นความไม่แน่นอน เพราะหากการขาดการลงทุนก็จะทำให้เกิดการบั่นทอนกำลังการผลิตทางเศรษฐกิจในอนาคต นับเป็นเรื่องยากที่นักลงทุนจากต่างชาติจะคาดเดาแนวโน้มระยะกลางทางเศรษฐกิจของประเทศไทย จนกว่าจะเห็นภาพการเมืองที่น่าจะมีความชัดเจนมากขึ้น
ส่วนตลาดพันธบัตรและอัตราแลกเปลี่ยนในขณะนี้อาจจะมีความผันผวนบ้างเล็กน้อย แต่โดยรวมแล้วมีเสถียรภาพค่อนข้างดี ธนาคารแห่งประเทศไทยเองก็ได้ขอความร่วมมือจากสถาบันการเงินต่างๆ ให้ช่วยกันดูแลเสถียรภาพของตลาด เพื่อไม่ให้เกิดการผันผวน รวมถึงให้คำแนะนำลูกค้าและช่วยดูแลให้ธุรกรรมต่างๆ ให้เป็นไปได้อย่างต่อเนื่องและราบรื่น ที่สำคัญยังขอความร่วมมือจากสื่อมวลชน ให้ช่วยกันกรองข่าวสารก่อนนำเสนอ โดยจะต้องมีแหล่งข่าวน่าเชื่อถือ ชัดเจน ตรงไปตรงมา เพื่อไม่ให้เกิดความตื่นตระหนก ซึ่งอาจส่งผลทำให้เกิดความผันผวนมากขึ้น