เชื่อว่ายังมีอีกหลายคนที่กำลังวางแผนจะทำประกันชีวิตครั้งแรก หรือแม้แต่คนที่เคยทำประกันชีวิตมาแล้ว แต่ก็ยังคงไม่รู้ว่า การทำประกันชีวิตนั้น คืออะไร โดยเฉพาะคำว่า ทุนประกันชีวิต มันเกี่ยวกับประกันชีวิตอย่างไรบ้าง ซึ่งการทำประกันชีวิตแบ่งออกเป็น 5 แบบใหญ่ก็คือ ประกันชั่วระยะเวลา , ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ , ประกันชีวิตแบบออมทรัพย์ , ประกันชีวิตแบบควบการลงทุน และที่เป็นประกันชีวิตแบบเกษียณอายุ
เบี้ยประกัน กับ ทุนประกัน มีความต่างกันอย่างไร
ทุนประกัน คือ สินไหมทดแทนที่บริษัทประกันจะจ่ายให้กับผู้เอาประกัน ในเสียชีวิต หรือครบกำหนดสัญญา ซึ่งส่วนมากเป็นหลักแสน เป็นจำนวนเงินที่คุณจะได้รับจากบริษัทประกันชีวิต ซึ่งหากเกิดในกรณีครบกำหนดสัญญา หรือเสียชีวิต ก็จะทำให้ได้ทุนประกันจากที่การทำเงื่อนไขในการรับประกัน ตั้งแต่การสมัครและตัดสินใจซื้อประกันครั้งแรก เมื่อมีทุนประกันก็ต้องมีคำว่า เบี้ยประกัน
ซึ่งเบี้ยประกัน คือจำนวนเงินที่ผู้เอาประกันจะต้องจ่ายกรณีซื้อประกันกับบริษัทประกันชีวิต เพื่อทำการซื้อความคุ้มครอง โดยจ่ายเป็นงวดๆ จนครบกำหนดสัญญา หรือตามที่ตกลงในเงื่อนไขการชำระเบี้ย
การเลือกทุนประกันชีวิต
กรมธรรม์ประกันชีวิต หมายถึงสัญญาต่างตอบแทนที่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่ง ที่เรียกว่า “ผู้เอาประกัน” ซึ่งมีหน้าที่ที่จะต้องจ่ายเบี้ยประกันให้กับคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง โดยเรียกว่า “บริษัทประกันชีวิต” และเมื่อผู้เอาประกันเสียชีวิต หรืออยู่ครบตามสัญญาของกรมธรรม์ ทางฝ่ายตัวแทนหรือ “บริษัทประกันชีวิต” ก็มีหน้าที่ต้องจ่ายผลตอบแทนที่เรียกว่า “ทุนประกันชีวิต” โดยจะต้องมอบให้แก่ผู้เอาประกันหรือผู้รับผลประโยชน์ตามกรมธรรม์นั่นเอง ซึ่งการประกันชีวิต เป็นการเฉลี่ยความเสียหาย ที่ไม่ว่าจะเป็นการตาย หรือการสูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพ หรือแม้แต่การสูญเสียรายได้ในยามชรา ที่จะเกิดขึ้นจากคนหนึ่งไปยังอีกหลาย ๆ คน ซึ่งจะมีผู้รับประกัน ทำหน้าที่กระจายความเสี่ยงระหว่างผู้เอาประกันทั้งหมด จากที่ให้ผู้เอาประกันจ่ายเงินจำนวนหนึ่งในรูปของ “เบี้ยประกัน” ให้แก่ผู้รับประกันไว้สำหรับเป็นเงินกองกลาง และเมื่อผู้เอาประกันได้รับความเสียหาย หรือเสียชีวิต ก็จะทำให้ผู้รับประกันนำเงินกองกลางไปชดใช้ตามจำนวนที่ได้ตกลงกัน การวางแผนการทำประกันชีวิต ก็เพื่อเตรียมรับความไม่แน่นอนที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ไม่ว่าจะเกิดขึ้นกับตัวเอง ครอบครัว หรือ ทรัพย์ สินของของคุณ รวมถึง ธุรกิจของเรา ซึ่งการวางแผนที่ดีจะช่วยบรรเทาความเสียหายที่เกิดขึ้นได้
การทำประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลา
คือแบบการทำประกันชีวิตที่เป็นการซื้อแล้วทิ้ง และไม่มีเงินปันผลหรือผลตอบแทน เป็นการนำเบี้ยประกันไปซื้อความคุ้มครองล้วนๆ แต่ไม่มีการเอาเงินไปออม และเป็นการซื้อเบี้ยแบบปีต่อปี ซึ่งเบี้ยประกันจะถูกกว่าแบบประกันอื่นๆ แต่ทุนประกันค่อนข้างสูง ซึ่งเบี้ยที่จ่ายไปส่วนใหญ่จะเป็นการจ่ายแล้วทิ้งปีต่อปี แต่เบี้ยประกันที่จ่ายไปเป็นการซื้อความคุ้มครอง 100% ซึ่งหากคิดจะทำประกันชีวิตแล้ว จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพิจารณาว่าตนเองต้องการทำประกันแบบใด คุ้มครองระยะสั้น หรือยาว หรือต้องการคุ้มครองเฉพาะการเสียชีวิตเท่านั้น หากทำประกันแบบสะสมทรัพย์ก็สามารถรับเงินคืนได้ด้วย การเลือกแบบประกันชีวิตที่เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการ ต้องศึกษาให้ละเอียด และเลือกวงเงินเอาประกันภัยที่ต้องการ พิจารณาดูว่าคุณมีรายได้ประจำพอที่จะมีกำลังในการส่งเบี้ยประกันภัยมากน้อยแค่ไหนและพิจารณาสัญญาเพิ่มเติม รวมถึงการเลือกทำประกันกับบริษัทที่มีความมั่นคง ที่มีมาตรฐานในการทำงาน
แนวทางในการพิจารณา ก่อนตัดสินใจซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิต
เลือกซื้อประกันชีวิตจะต้องเลือกซื้อกับบริษัทที่มีชื่อเสียง หรือน่าเชื่อถือ โดยจะต้องความเข้าใจในเงื่อนไขของกรมธรรม์ก่อนซื้อ เพื่อที่จะซื้อให้เหมาะกับวงเงินที่ต้องการ และเหมาะกับความสามารถในการชำระเบี้ยประกันภัย โดยอาจทำการเปรียบเทียบกรมธรรม์ของแต่ละบริษัท ซึ่งจะว่าไปภัยจากการประกันชีวิตเป็นสิ่งที่ต้องเกิดแน่นอน และจะชดเชยตามทุนประกัน และจะได้คืนเมื่อครบสัญญา และหากสมัครประกันชีวิตในวงเงินสูง อาจต้องถูกเรียกตรวจสุขภาพ โดยการส่งเบี้ยประกันชีวิตจะต้องส่งมอบคืนผู้เอาประกันในวันข้างหน้า ทำให้เงินออมส่วนนี้ จะมีกฎหมายควบคุมการลงทุนที่นับว่าค่อนข้างเข้มงวด
ทุนประกันชีวิต เท่าไรถึงพอ?
หลายคนมักเข้าใจว่า การประกันชีวิตเป็นการประกันตอนที่มีชีวิต และหากสิ้นลมหายใจ ก็จะได้รับสินไหมทดแทน เป็นการประกันคุณค่าทางเศรษฐกิจของบุคคล โดยดูจากความสามารถในการสร้างรายได้ ว่าหากยังมีชีวิตอยู่ต่อไป จะสามารถสร้างรายได้ให้กับครอบครัว อีกเท่าไร แล้วนำมูลค่าตรงนั้นมากำหนดเป็นวงเงินคุ้มครอง หรือเป็นทุนประกัน หากผู้ทำประกันจากไป ทำอย่างไรให้ครอบครัวจะเดือดร้อนน้อยที่สุด และนำทุนประกันชีวิตที่ได้ไปชดเชยหรือรองรับภาระที่อาจจะเกิดขึ้น ทั้งในปัจจุบันและในอนาคต
แนวคิดในการคำนวณทุนประกันที่เหมาะสม
แนวคิดการคำนวณตามมูลค่าที่แท้จริงของบุคคล หรือตามภาระที่บุคคลพึงรับผิดชอบ คือ จำนวนรายได้ทั้งหมดที่คาดว่าคุณทำขึ้นมาได้ในช่วงชีวิตที่เหลือ หรือจนกว่าจะเกษียณอายุ แต่วงเงินที่คำนวณได้ มักจะสูงเกินกว่าที่คุณจะจ่ายเพื่อทำประกันได้ โดยเฉพาะคนที่เริ่มต้นทำงานใหม่ๆ เพื่อให้สอดคล้องกับความเป็นจริง จึงได้มีการกำหนดว่า บุคคลที่ทำประกัน ควรมีวงเงินประกันเท่ากับ 5 เท่าของรายได้ เพราะว่าเวลา 5 ปี เป็นช่วงเวลาที่พอสมควร และคนในครอบครัวจะได้ปรับ ตัว ซึ่งน่าจะพอมีเวลาหางานและฝึกทักษะการทำงานอีกครั้ง หรือสามารถขยับขยายหาธุรกิจใหม่มาทำ เพื่อทำหน้าที่หารายได้แทนสามีต่อไป ส่วนการคำนวณตามภาระค่าใช้จ่าย ให้ดูตามความจำเป็นของครอบครัวว่าหากสูญเสียคุณไป ครอบครัวคุณยังต้องแบกรับค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง เพราะหากเป็นไปได้ คุณคงอยากรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเหล่านี้ไว้เอง
โดยค่าใช้จ่ายเหล่านี้ คือ ค่าใช้จ่ายรายเดือนของครอบครัว, ค่าเล่าเรียนของลูกๆ, หนี้สินที่คงค้างอยู่, ค่าเลี้ยงดูพ่อแม่ รวมถึงค่าใช้จ่ายครั้งสุดท้ายอย่างการจ่ายค่าฌาปนกิจ ซึ่งจะมีการเตรียมการ หรือมีสมบัติบางส่วนที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินเพื่อรับภาระเหล่านี้ได้บ้าง ซึ่งวงเงินประกันที่ต้องการ จะเท่ากับจำนวนเงินที่อาจจะยังขาดหลังจากการนำทรัพย์สินที่มีอยู่ไปหักจากภาระค่าใช้จ่าย คือ ทุนประกัน = ภาระ – สินทรัพย์ที่มีอยู่ หากมีทุนประกันหรือสินทรัพย์รวมกันมากกว่าภาระที่เกิดขึ้น ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องทำประกันเพิ่ม เว้นเสียแต่ว่าคุณยังต้องการให้ทายาท มีทุนเหลือเฟือเพื่อที่เขาจะอยู่ได้อย่างสบาย และสามารถส่งต่อความมั่งคั่งไปสู่ชั้นลูกชั้นหลานต่อไปได้