ในยุคที่สังคมออนไลน์เชื่อมต่อหากันได้ทุกที่ ทุกเวลา ใคร ๆ ก็สามารถสั่งซื้อสินค้านำเข้าจากต่างประเทศได้โดยตรง บางคนที่เคยได้ลองสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศมาบ้างแล้ว ก็น่าจะพอทราบกันดีว่าเมื่อสั่งของมาแล้วก็จะต้องชำระภาษีอากรขาเข้าด้วย ไม่ว่าของที่สั่งซื้อเข้ามาจะเป็นของใช้ส่วนตัว, ของฝากหรือของขวัญก็ตาม ถ้าสินค้าชิ้นนั้น ๆ ที่ส่งเข้ามาในประเทศมีมูลค่าสูงเกินกว่า 1 พันบาทและไม่มากเกินกว่า 4 หมื่นบาท
อ่านเพิ่มเติม : ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับวิธี ประหยัดภาษี
ทั้งนี้ ถ้าสินค้ามีมูลค่าสูงมากกว่า 4 หมื่นบาท ผู้ที่สั่งซื้อสินค้าก็จะต้องมีขั้นตอนในการจัดทำใบขนส่งสินค้าขาเข้าเพิ่มเติม ส่งผลให้ผู้ที่สั่งซื้อสินค้าเข้ามาในประเทศหลาย ๆ คนไม่ค่อยอยากชำระภาษีนำเข้าเต็มอัตราสักเท่าไหร่ ซึ่งทางออกของผู้นำเข้าจำนวนไม่น้อย ก็คือ การเลี่ยงภาษีด้วยการแสดงมูลค่าสินค้าที่หน้ากล่องให้ต่ำ ๆ ไว้ก่อน เผื่อว่าต้องจ่ายภาษีก็จะได้ไม่ต้องจ่ายสูงมากนัก และหลายครั้งที่กลายเป็นเพิ่มความเสี่ยงให้เจ้าตัว เพราะกลับกลายเป็นต้องจ่ายภาษีในอัตราที่หนักกว่าเดิมเมื่อถูกสุ่มตรวจจากเจ้าหน้าที่ศุลกากร
ดังนั้น ผู้ที่ต้องการสั่งของจากต่างประเทศ จึงควรทำความเข้าใจหลักการคำนวณภาษีและวิธีช่วยให้โดนภาษีน้อยที่สุดกันไว้บ้าง เช่น
แยกหมวดหมู่สินค้าที่จะส่งเข้ามาในประเทศ:
ก่อนอื่นเลย ผู้ที่สนใจจะสั่งของจากต่างประเทศ ควรศึกษาว่าสินค้าแต่ละหมวดมีอัตราของภาษีนำเข้าที่ต่างกัน จึงไม่ควรรวมสินค้าทุกอย่างที่ต้องการนำเข้ามาไว้ในกล่องเดียวกันทั้งหมด สมมุติว่าผู้สนใจจะสั่งนำเข้าสินค้าทั้งเสื้อผ้าและคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ้คเข้ามาพร้อม ๆ กันก็ควรแยกบรรจุสินค้าเป็น 2 กล่อง เพราะถ้าหากนำมาใส่รวมกันหมดก็จะเจอภาษีนำเข้าแบบเหมารวมเป็นร้อยละ 30 จากราคาประเมินในอัตราภาษีของใช้ส่วนตัว ทั้ง ๆ ที่คอมพิวเตอร์โน๊ตบุ้คจะต้องได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้า แต่การแพครวมมาแบบนี้ก็ทำให้โดนภาษีศุลกากรไปแบบเต็ม ๆ นอกจากนี้ หากคิดจะสั่งของเข้ามาจากต่างประเทศ ก็จะต้องเลือกส่งพัสดุทางไปรษณีย์แบบลงทะเบียนหรือไม่ก็ SAL ที่โอกาสในการจะเจอสุ่มตรวจจากศุลกากรมีน้อยมาก
คำนวณมูลค่าสินค้า, อัตราภาษีและ VAT 7%:
สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งที่ผู้สนใจจะสั่งของเข้ามาจากต่างประเทศควรจะศึกษาเอาไว้ก็คือ วิธีการคำณวนภาษีศุลกากรเพื่อจะได้คาดการณ์ได้ล่วงหน้าว่าหากนำเข้าสินค้ามาในประเทศไทยแล้ว จะต้องชำระภาษีนำเข้ารวมเป็นเงินจำนวนเท่าไหร่ หรือควรจะเลือกซื้อสินค้าจากร้านที่จดทะเบียนการค้าอย่างถูกต้องและมีวางจำหน่ายในประเทศไทยอยู่แล้วดีกว่ากัน หรือในกรณีที่นำเข้าจากต่างประเทศมาเพื่อจำหน่ายต่อให้กับลูกค้า การคำนวณภาษีนำเข้าอย่างถูกต้องจะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถตั้งราคาขายได้แบบไม่ขาดทุน และผู้ขายยังสามารถบวกภาษีที่ต้องจ่ายลงในราคาขายได้อีกด้วย
โดยสูตรคำนวณภาษีศุลกากรขาเข้ามีหลักคิดจากการนำราคาสินค้า, อัตราภาษีศุลกากรและ VAT 7% เช่น
- ถ้านำเข้ากระเป๋าแบรนด์เนมจากต่างประเทศที่มีมูลค่า 8,000 บาท และค่าขนส่งอีก 2,000 บาท รวมแล้วเท่ากับมูลค่าสินค้าเป็น 1 หมื่นบาท
- ดังนั้นก็จะต้องเสียภาษีในอัตราร้อยละ 40 ซึ่งจะเท่ากับ 14,000 บาท และยังโดนภาษีมูลค่าเพิ่มเข้าไปอีก 7%
- ทำให้ยอดภาษีทั้งหมดที่ต้องจ่ายจะมีมูลค่ารวมเป็น 4,980 บาท
หากสังเกตดี ๆ ก็จะรู้ว่าเงินที่ต้องชำระภาษีไม่น้อยเลย ยิ่งเมื่อนำมาเทียบกับราคาของสินค้านั้น ๆ ซึ่งบางทีอาจจะแพงกว่าซื้อสินค้าที่มีจำหน่ายในห้างเสียอีก การจะสั่งของเข้ามาในประเทศ จึงจำเป็นต้องคิดคำนวณภาษีให้ดี ๆ ทุกครั้ง
ระบุหน้าห่อพัสดุว่าเป็นของขวัญ ของฝากหรือ GIFT:
ผู้นำเข้าสินค้าจากต่างประเทศบางรายเลือกที่จะแสดงชื่อสินค้าว่าเป็นของขวัญแทนที่จะบอกว่าเป็นสินค้าอะไรชัดเจน เพราะหากน้ำหนักของพัสดุไม่เยอะมาก การระบุว่าเป็นของขวัญก็มักจะผ่านการตรวจและไม่โดนแกะโดยเจ้าหน้าที่ศุลกากร ในขณะที่บางรายเลือกที่จะเขียนกำกับชัดเจนว่าสินค้าด้านในเป็นอะไร และกำหนดราคาสินค้าเอาเองแบบประมาณคร่าว ๆ เช่น อาจจะระบุว่าเป็นปากกาด้ามละ 1,000 บาท เมื่อสินค้าถูกตรวจสอบจากศุลกากรเขาก็จะนำอัตราภาษีมาใช้คำนวณ ซึ่งมูลค่าของปากกาตามที่ระบุไว้ สมมุติว่าแจงไว้ด้ามละ 1 พันบาท, อัตราภาษีนำเข้า 5% และภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ในกล่องมีปากกาทั้งหมด 4 ด้าม ดังนั้น ผู้นำเข้าจะต้องชำระภาษีรวมทั้งหมด 494 บาท
อย่างไรก็ดี การที่ผู้สนใจบางรายเลือกที่จะระบุราคาสินค้าที่หน้าห่อพัสดุให้มีราคาต่ำ ๆ ไว้ก่อนนั้น อาจจะช่วยทำให้หลบเลี่ยงภาษีศุลกากรได้ก็จริง แต่หากเจ้าหน้าที่สุ่มชั่งน้ำหนักและเกิดความสงสัยในพัสดุนั้น ๆ ก็มีสิทธิ์ที่จะเปิดห่อออกดูว่าสินค้าด้านในเป็นอะไร หรืออาจจะดูมูลค่าของสินค้าว่าตรงกับที่ระบุไว้หรือไม่ หากพบว่าเป็นการบิดเบือนรายละเอียดสินค้า ผู้ที่นำเข้าก็จะโดนภาษีในอัตราที่หนักกว่าเดิม นอกจากนี้ หากผู้นำเข้าสินค้าจากต่างประเทศเลือกระบุราคาที่ต่ำกว่ามูลค่าสินค้าที่แท้จริง ก็อาจจะมีความเสี่ยงมากขึ้น ในกรณีที่พัสดุสูญหายหรือเสียหายก็ไม่รู้จะไปเบิกเอาเงินประกันได้จากบริษัทขนส่งหรือไปรษณีย์ได้ตามมูลค่าที่แท้จริงได้อย่างไร จึงเท่ากับเป็นการสูญเงินและปิดโอกาสที่ผู้นำเข้าจะเรียกร้องความรับผิดชอบจากหน่วยงานต่าง ๆ ไปทันทีนั่นเอง