เป็นแบบนี้กันทุกปีและเป็นกันมาตลอดสำหรับเรื่องของภาษีเงินได้ซึ่งพอถึงปลายปีก็ต้องเตรียมสรุปเงินได้ทั้งหมดเพื่อจัดทำฐานภาษี บางคนก็มีค่าลดหย่อนต่างๆ ก็ต้องมา คำนวณภาษี ปลายปี กันล่วงหน้าว่าปีนี้จะลดหย่อนกันได้เท่าไหร่ได้เงินภาษีคืนไหม หรือต้องจ่ายเพิ่มเท่าไหร่ แม้ว่าตอนนี้จะใช้ฐานภาษีเดิมตามที่ คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2558 ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ โดยเห็นชอบอนุมัติขยายระยะเวลาการใช้บัญชีอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปัจจุบันออกไปอีก 1 ปี (ตามรูป)
แม้ว่าจะเสียในอัตราเดิมแต่ก็มีเสียงบ่นกันออกมาจากเหล่ามนุษย์เงินเดือนที่ต้องเสียภาษี เพราะรู้สึกว่าต้องจ่ายเยอะและบางคนไม่มีรายการลดหย่อนภาษีซึ่งหลักๆของรายการที่จะลดหย่อนภาษีมีดังนี้
- หักค่าใช้จ่าย 40% ของเงินเดือนทั้งปีแต่ไม่เกิน 60,000 บาท
- ค่าลดหย่อนส่วนตัวจำนวน 30,000 บาท
- ค่าลดหย่อนคู่สมรสจำนวน 30,000 บาท
- ค่าลดหย่อนบุตร 15,000 บาท
- ค่าลดหย่อนการศึกษาบุตร 2,000 บาท
- ดอกเบี้ยเงินกู้ยืม จำนวน 100,000 บาท (สินเชื่อที่อยู่อาศัย )
- ค่าเลี้ยงดูบิดามารดา คนละ 30,000 บาท สูงสุด 120,000 บาท (อายุเกิน 60 ปี )
- เบี้ยประกันชีวิต
- ค่าลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพ 60,000 บาท (ต้องมีหลักฐานแสดงตามกฎหมายกำหนด)
- เบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา
- เงินสมทบ กบข
- กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
- กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)
- กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF)
- ประกันสังคม ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 9,000 บาท
- ค่าใช้จ่ายท่องเที่ยว ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท
- เงินบริจาค
ซึ่งทั้งหมดนี้นั้นมนุษย์เงินเดือนจำนวนมากมีรายการให้หักภาษีแค่ไม่กี่อย่างเท่านั้น และที่มีการถกเถียงกันคือเรื่องของ หักค่าใช้จ่าย 40% ของเงินเดือนทั้งปีแต่ไม่เกิน 60,000 บาท ซึ่งหลายคนบอกว่าจ่ายจริงมากกว่านั้นซึ่งมีความคิดเห็นจากคนที่อ่านข่าวนี้และให้ความเห็นได้น่าสนใจไว้ว่า 40% ของรายได้ทั้งปีนำมาลดหย่อนเป็นอัตราเหมานั้นไม่สอดคล้องกับค่าครองชีพในปัจจุบัน เพราะลองคิดเล่นๆเต็มจำนวนปีละ 60,000 ÷ 12 เดือน = 5,000 บาทต่อเดือน หลายคนบอกว่ามันต่ำกว่าความเป็นจริงเพราะแต่ละคนใช้เงินดำรงชีพมากกว่าเดือนละ 5,000 บาทแน่นอนหลายคนท้วงติงกันในส่วนนี้ว่าควรจะปรับอัตราลดหย่อนส่วนนี้ แต่หลายๆคนบอกว่าคำนวณจริงๆก็เหลือจ่ายภาษีแค่ไม่กี่บาทต่อปี ยกตัวอย่างเช่น
จากตัวอย่างที่คำนวณมาให้ดูคือรายได้ของมนุษย์เงินเดือนธรรมดาๆทั่วไปที่ส่วนใหญ่จะอยู่ประมาณนี้ บางคนไม่มีรายการหักอื่นๆทั้งเรื่องกองทุนเรื่องประกันชีวิต จ่ายกันแค่ประกันสังคมอย่างอื่นไม่มีก็จะเสียภาษีเท่าที่คำนวณมาให้ดู บางคนไม่มีโบนัสเท่ากับว่าไม่ต้องเสียภาษีเพราะรายได้ประเมินอยู่ในฐานที่ไม่ต้องเสียภาษีเลย ส่วนใหญ่ที่จะเข้าเกณฑ์เสียภาษีกันจริงๆคือคนที่มีราได้ต่อเดือนเกิน 20,000 บาทขึ้นไปเมื่อคำนวณรายได้ทั้งปีจะเข้าเกณฑ์เสียภาษีในกลุ่ม รายได้สุทธิในช่วง 150,001 – 300,000 บาท เสียภาษี 5% ซึ่งมนุษย์เงินเดือนส่วนใหญ่ที่เสียภาษีจะอยู่ในเกณฑ์นี้ค่อนข้างมาก และมีบางส่วนที่มีรายได้สูงก็จะไล่ตามขั้นบันไดของภาษีคือ
รายได้สุทธิในช่วง 300,001 – 500,000 บาท เสียภาษี 10%
รายได้สุทธิในช่วง 500,001 – 750,000 บาท เสียภาษี 15%
รายได้สุทธิในช่วง 750,001 – 1,000,000 บาท เสียภาษี 20%
รายได้สุทธิในช่วง 1,000,001 – 2,000,000 บาท เสียภาษี 25%
รายได้สุทธิในช่วง 2,000,001 – 4,000,000 บาท เสียภาษี 30%
รายได้สุทธิในช่วง 4,000,001 – 20,000,000 บาท เสียภาษี 35%
รายได้มากกว่า 20,000,001 บาทขึ้นไป เสียภาษี 37%
แต่ส่วนใหญ่จะมีรายการลดหย่อนกันเกือบทั้งหมด คนที่มีรายได้สูงจะมีการซื้อกองทุน ซื้อประกันชีวิต หรือบางคนผ่อนบ้านก็นำมาลดหย่อน มีครอบครัวก็มีส่วนลดหย่อน ซึ่งแต่ละคนจะไม่เท่ากันดังนั้นหากมองในอีกมุมหนึ่งมนุษย์เงินเดือนที่เข้าข่ายไม่เสียภาษีมีมากกว่าคนเสียภาษีเสียอีก และคนที่เสียภาษีเต็มเม็ดเต็มหน่วยแบบไม่มีรายการลดหย่อนก็มีจำนวนน้อยกว่ากลุ่มที่ลดหย่อนกันเต็มอัตรา
ดังนั้นเรื่องของภาษีควรทำความเข้าใจกันก่อนที่จะตีโพยตีพายว่าจะต้องเสียภาษีกันมากมาย แม้บางคนจะมีรายได้อื่นๆเช่นดอกเบี้ยเงินฝาก หรือ รายได้เสริมที่บางครั้งก็ไม่ได้อยู่ในระบบ บางคนมีรายได้เสริมแต่มีหัก ณ.ที่จ่ายก็เท่ากับว่านำมาขอคืนภาษีได้
นอกจากนี้การหักลดหย่อนต่างๆ ก็มีหลายช่องทางที่น่าสนใจเช่น ค่าใช้จ่ายท่องเที่ยว ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท ( ค่าโรงแรมและค่าที่พักสำหรับการท่องเที่ยวภายในประเทศตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม – 31 ธันวาคม 2557 สำหรับการยื่นแบบปี 2558) ปีที่แล้วใครไปเที่ยวเก็บใบเสร็จค่าท่องเที่ยวไว้เอามาหักกันได้ในปีนี้แต่เชื่อว่าหลายคงทิ้งไปแล้ว และเงินบริจาค ที่หลายๆคนไม่ค่อยนำมาหักภาษีกันเท่าไหร่ ที่หักลดหย่อนสูงสุดได้ถึง 10% จากการคำนวณการลดหย่อนอื่นๆหมดแล้ว แต่ส่วนนี้ต้องมีหลักฐานเช่น ใบเสร็จที่บริจาคส่วนใหญ่มักจะไม่ค่อยมีกันนอกจากบริจาคเงินก้อนโตๆอย่างที่คนรวยเขาบริจาคกันมนุษย์เงินเดือนจึงไม่ค่อยนำส่วนนี้มาคิดภาษี และในปีนี้ก็ลองคำนวณกันคร่าวๆว่าจะโดนภาษีกันเท่าไหร่มีทางไหนลดหย่อนได้บ้าง
รูปจาก : https://www.facebook.com/RevenueDepartment/?fref=photo
คำนวณภาษี : https://www.krungsri.com/bank/th/Other/Calculator/Calculators/Preliminarytaxcalculator.html