ประกันลดหย่อนภาษี มีอะไรบ้าง เลือกแบบไหนคุ้มสุด
การวางแผนภาษี ถือเป็นเรื่องสำคัญของเหล่ามนุษย์เงินเดือน ที่จะช่วยลดภาษีได้แบบถูกกฎหมาย ยิ่งได้สิทธิ์ลดหย่อนมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งได้จ่ายภาษีน้อยลงเท่านั้น โดยหนึ่งในวิธีหลักที่หลายคนเลือกก็คือ การซื้อประกัน และในวันนี้เราจะพาไปดูกันว่า ประกันลดหย่อนภาษี มีอะไรบ้าง เลือกแบบไหนให้เหมาะกับตัวเอง และคุ้มค่าที่สุด
ประกันลดหย่อนภาษี
- ประกันชีวิต
สามารถใช้ลดหย่อนได้สูงสุดถึง 100,000 บาทต่อปี โดยมีเงื่อนไขการซื้อดังนี้
-
- ต้องเป็นประกันชีวิตที่มีระยะเวลาคุ้มครอง 10 ปีขึ้นไป
- ต้องไม่มีเงื่อนไขให้รับเงินคืนก่อนครบกำหนด
- หากเป็นประกันชีวิตแบบควบการลงทุน สามารถใช้ลดหย่อนเพิ่มได้อีก 100,000 บาท
- ประกันสุขภาพ
ใช้ลดหย่อนภาษีได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 25,000 บาทต่อปี และไม่เกิน 100,000 เมื่อรวมกับประกันชีวิต
- ประกันสุขภาพบิดามารดา
สำหรับการซื้อประกันสุขภาพให้พ่อ-แม่ จะนำมาลดหย่อนภาษีได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท โดยมีเงื่อนไขการซื้อดังนี้
-
- พ่อแม่อายุ 60 ปีขึ้นไป
- มีรายได้ไม่เกินเกณฑ์ที่กำหนด
ประกันบำนาญ
อีกหนึ่งในประกันที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ด้วยจุดเด่นอย่างการช่วยให้มีเงินใช้หลังเกษียณ โดยสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 200,000 บาท หรือไม่เกิน 15% ของรายได้ และเมื่อรวมกับกองทุนเพื่อการเกษียณอื่น ๆ แล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท
วิธีเลือกประกันลดหย่อนภาษีให้คุ้มค่า
- พิจารณาความคุ้มครองที่จำเป็น
-
- ประกันชีวิต: ต้องการสร้างหลักประกันให้ครอบครัว
- ประกันสุขภาพ: ต้องการลดภาระค่ารักษาพยาบาลยามเจ็บป่วย
- ประกันบำนาญ: ต้องการออมเงินไว้ใช้หลังเกษียณ
- เปรียบเทียบเงื่อนไข และผลตอบแทน
- ระยะเวลาคุ้มครอง และการจ่ายเบี้ย
- ผลตอบแทนที่ได้รับเมื่อครบกำหนด
- เงื่อนไขการเวนคืนกรมธรรม์
- ตรวจสอบสิทธิ์การลดหย่อนภาษี
หากต้องการสิทธิ์ลดหย่อยภาษีจากการซื้อประกันแบบต่าง ๆ ควรตรวจสอบด้วยว่าประกันที่ซื้อนั้นเข้าเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนดหรือไม่ และควรเก็บหลักฐานการชำระเบี้ยไว้เพื่อนำไปใช้ยื่นภาษี
การซื้อประกันเพื่อลดหย่อนภาษี เป็นตัวเลือกหลักที่ช่วยลดภาระการจ่ายภาษีในปต่ละปีได้จริง แต่ทั้งนี้ก็ต้องพิจารณาทั้งในแง่ของการคุ้มครองที่จะได้รับด้วย รวมถึงควรพิจารณาไลฟ์สไตล์ และสถานะทางการเงินของตนให้ดี ก่อนเลือกซื้อประกัน เพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุดทั้งด้านภาษี และการคุ้มครองนั่นเอง