เมื่อเข้าสู่ช่วงต้องเสียภาษีอย่างจริงจัง ที่ถูกกำหนดไว้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมไปจนถึง 31 มีนาคมของทุกปี และจะมีการขยายเวลาสำหรับการยื่นแบบการเสียภาษีออกไปอีกเล็กน้อย ซึ่งก็แล้วแต่กรณีเพื่อเป็นการให้โอกาสแก่ผู้ที่อาจจะมาเสียภาษีได้ไม่ทันเวลาตามที่กำหนด หรือติดธุระที่ทำให้มาชำระได้ไม่ตรงเวลา ส่วนในผู้ที่ได้ทำการชำระภาษีไปแล้ว และมีการทำเรื่องลดหย่อนภาษีพร้อมกับการขอคืนภาษีอย่างถูกต้อง ก็เหลือแค่เพียงรอข้อความยืนยันการต้อนรับจากกรมสรรพากรอีกครั้ง ซึ่งการขอคืนภาษีนั้นเกิดมาจากการที่ผู้ยื่นแบบภาษีได้ทำการขอส่วนลดเพื่อลดหย่อนภาษี ได้เงินคืนหลังขั้นตอนการเสียภาษีไปแล้ว เป็นการคืนในส่วนที่ผู้เสียภาษีชำระมาเกินกว่าที่ควรจะเสีย หรือเรียกว่าเป็นการเสียภาษีโดยที่ไม่มีหน้าต้องเสีย ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่ผู้ที่เสียภาษีจึงจัดให้มีเป็นส่วนลดที่ใช้ในการลดหย่อนภาษี และสามารถเอาส่วนลดเหล่านั้นกลับมาเป็นเงินคืนให้แก่ประชาชนผู้ที่ต้องเสียภาษีต่อไป
เมื่อต้องการขอเงินคืนภาษี ในขั้นตอนก่อนการจะยื่นภาษีต้องมีการกรอกข้อมูลรายรับและรายจ่ายสามารถทำให้เกิดเป็นค่าลดหย่อนภาษีได้ก่อน จะต้องมีการตรวจสอบจากตัวผู้เสียภาษีเองว่าในทุก ๆ เดือนจะต้องมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้างที่เกี่ยวข้องและสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ ไม่ว่าจะเป็นการลดหย่อนในส่วนบุคคลที่สามารถนำมาลดได้ถึง 30,000 บาท การลดหย่อนจากคู่สมรสที่เป็นแค่แม่บ้านไม่ได้มีรายได้ก็สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ 30,000 บาทเช่นกัน แต่คู่สมรสในที่นี้จะต้องมีการจดทะเบียนสมรสกันอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และยังมีอีกหลากหลายรูปแบบในการนำมาลดหย่อนได้ดังนี้
- ลดหย่อนจากค่าเลี้ยงดูบุตร และค่าการศึกษาของบุตร
ซึ่งสามารถใช้ได้กับทั้งบุตรแท้และบุตรบุญธรรม โดยสามารถลดหย่อนได้ถึงคนละ 15,000 บาท แตะจะไม่เกิน 3 คน หรือลดหย่อนได้สูงสุดที่ 45,000 บาท โดยที่บุตรแต่ละคนจะต้องมีอายุไม่เกิน 20 ปี หรือถ้ามีอายุเกินออกไปที่ 21-25 ปี ก็จะต้องมีระดับการศึกษาอยู่ที่ ปวส. ขึ้นไปเท่านั้น ในส่วนของบุตรที่ศึกษาต่ออยู่ต่างประเทศก็สามารถลดหย่อนได้เพิ่มเติมอีกคนละ 2,000 บาท
- ลดหย่อนจากดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่เกิดมาจากการซื้อบ้าน คอนโด หรือที่อยู่อาศัย
โดยมีการกู้ยืมมาจากสถาบันทางการเงินภายในประเทศ หรือผู้ที่กู้ยืมเพื่อสร้างบ้านบนพื้นที่ตัวเอง กู้เพื่อที่อยู่อาศัยมากกว่า 1 ที่ และมีการกู้ร่วมกับผู้อื่น ๆ
- ลดหย่อนจากค่าเลี้ยงดูบิดา มารดา สำหรับผู้ที่มีบิดามารดาที่อายุมาก ไม่สามารถสร้างรายได้ หรือมีเงินเก็บจากด้านใด
โดยต้องมีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป และถ้ามีรายได้ก็ต้องไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี ก็สามารถนำหนังสือรับรองที่ทางบิดามารดาออกให้เพื่อนำมาลดหย่อนภาษีได้เลยทันที
- ลดหย่อนจากประกันชีวิตที่สามารถลดได้กับประกันชีวิตแบบทั่วไปและประกันชีวิตแบบบำนาญ
- ลดหย่อนจากกองทุนทางการเงินในรูปแบบระยะยาว หรือจากผลิตภัณฑ์ทางการเงินของธนาคารและสถาบันการเงินต่าง ๆ
- ลดหย่อนจากกองทุนการออมแห่งชาติ หรือ กอช. ที่สามารถนำสิทธิ์มาใช้ในการลดหย่อนได้
- ลดหย่อนจากการจ่ายค่าประกันสังคม
ที่สามารถลดหย่อนได้ถึง 9,000 บาท หรือมาจากการคำนวณรายได้สูงสุดที่เดือนละ 15,000 บาท
- ลดหย่อนจากมูลนิธิและสาธรณกุศลต่าง ๆ
สามารถลดหย่อนได้สูงสุดถึง 60,000 บาทต่อปี แต่มีเงื่อนไขว่าจะต้องมีการได้รับใบรับรองหรือผู้พิการคนนั้นต้องมีบัตรประจำตัวคนพิการตามกฎหมาย หรือสถานการศึกษาต่าง ๆ ที่ได้รับการออกใบรับรองว่าสามารถนำมาลดหย่อนได้
ค่าลดหย่อนในเบื้องต้นนี้เป็นเพียงตัวอย่างสำคัญ ของการลดหย่อนที่มีผู้ใช้มากที่สุด และเป็นที่นิยมในการนำมาใช้เพื่อกรอกข้อมูลในส่วนของการนำไปคำนวณรายได้ เพื่อเป็นการลดหย่อนภาษี ทั้งนี้เมื่อมีการนำแบบการยื่นภาษีไปทำการชำระค่าภาษีจนเรียบร้อยแล้ว ก็เตรียมรอรอรับเงินคืนภาษีจากกรมสรรพากรต่อได้เลย ซึ่งสามารถเข้า ตรวจสอบคืนภาษี ที่เว็บไซต์หลักของกรมสรรพากร โดยเลือกที่ E-FILING และทำการตรวจสอบการส่งเอกสารประกอบการคืนภาษีหรือไม่ก็สามารถเข้าสู่ห้องข่าวที่เว็บไซต์เดียวกัน แล้วเลือกที่ห้องข่าวสารอื่น ๆ และเลือกที่การ ส่งพร้อมการตรวจสอบเอกสารประกอบการคืนเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา นอกจากนี้ก็ยังสามารถเข้าตรวจสอบคืนภาษีได้ที่เว็บไซต์ไปรษณีย์ไทย ในกรณีที่ผู้เสียภาษีได้มีการยื่นแบบภาษีผ่านทางไปรษณีย์ เพื่อเป็นการดูว่าเอกสารที่เราส่งไปถึงกรมสรรพากรแล้วหรือยัง
เมื่อทำการตรวจสอบคืนภาษีเรียบร้อยแล้วพบว่ามีปัญหาติดขัดใด ๆ ก็สามารถเข้าสู่เว็บไซต์ของกรมสรรพากรเพื่อตรวจสอบเอกสารที่ส่งไปว่ามีความผิดพลาดที่ตรงไหน เพราะในบางครั้งความผิดพลาดจากความล่าช้าในการขอคืนเงินภาษีก็อาจจะเกิดจากความผิดพลาดจากผู้ที่เสียภาษีเอง และถ้าเกิดพบว่าเป็นการกรอกข้อมูลที่ผิดพลาดของผู้เสียภาษีเองจริง ๆ ก็สามารถเข้าแก้ไขในระบบออนไลน์
สำหรับผู้ที่ส่งการยื่นภาษีออนไลน์เท่านั้น แต่ถ้ามีข้อสงสัยในด้านอื่นก็สามารถเข้าสอบถามข้อมูลในงานส่วนของการ ตรวจสอบคืนภาษี หรือสามารถโทรสอบถามโดยตรงไปที่เบอร์ 02-617-3476 ได้ตามเวลาราชการ เพื่อเป็นการถามถึงปัญหาความล่าช้าของการคืนเงินภาษี พร้อมกับสามารถส่งแบบฟอร์มเอกสารให้กับทางกรมสรรพากรทางเบอร์แฟกซ์ได้อีกด้วย เพราะฉะนั้นผู้ทำการขอคืนเงินจากความผิดพลาดก็ควรต้องเตรียมเอกสารในการยื่นแบบภาษีที่เคยยื่นไปแล้วอีกครั้ง แล้วทำการติดต่อกลับไปที่กรมสรรพากรโดยทันที