สวัสดีครับ กลับมาพบกันอีกครั้งหลังจากที่ทุกท่านได้ทำความรู้จักกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดากันไปแล้ว เชื่อว่าหลายๆท่านคงเริ่มอยากจะลองคำนวณภาษีที่ต้องชำระกันแล้ว แน่นอนครับ ! ตามที่สัญญากันไว้ วันนี้ทางทีมงาน moneyhub ได้นำข้อมูลของประเภทวิธีการคำนวณ ตลอดจนตัวอย่างในการ คำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มาฝากทุกท่านกัน บอกไว้ตรงนี้เลยว่าไม่ยุ่งยากอย่างที่คิดเลย
ใครยังไม่อ่านภาคแรก ตามไปอ่านด่วนๆ >> ภาษีเดอะซีรีย์ : ทำความรู้จัก ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กัน ! <<
ก่อนที่เราจะเริ่มดีดลูกคิดคำนวณกัน ผมอยากจะให้ผู้อ่านทุกท่านทำความเข้าใจกับประเภทของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตรงนี้กันซักนิด…
ประเภทของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจะแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทครับ ได้แก่
- ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี หรือเรียกย่อๆว่า ภ.ง.ด. 94 ซึ่งเป็นการจ่ายภาษีก่อนกำหนดเวลา โดยมากจะใช้กันในกรณีเฉพาะครับ เช่น กรณีผู้ที่ถึงแก่ความตาย ระหว่างปีภาษี กรณีกองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง หรือแม้แต่กรณีบุคคลธรรมดาอย่างเราๆ ที่ต้องการจะลดภาระการจ่ายเงินก้อนใหญ่ก่อนสิ้นปี ก็สามารถแบ่งชำระภาษีก่อนได้ แบบเอาที่สบายใจเลยครับ
- ส่วนประเภทที่สองคือภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี ก็จะแบ่งออกเป็น ภ.ง.ด. 90 และ ภ.ง.ด 91 โดยทั้งสองนั้น ดูเผินๆเหมือนกันยังกับฝาแฝดเลยครับ แต่สิ่งที่แตกต่างกันนั่นคือในส่วนที่มาของรายได้ครับ โดย ภ.ง.ด. 90 จะใช้สำหรับผู้ที่มีรายได้หลายช่องทาง ส่วน ภ.ง.ด. 91 จะใช้สำหรับผู้ที่มีรายได้เป็นเงินเดือนประจำเพียงช่องทางเดียว
แต่ในวันนี้ผมจะพูดถึงเฉพาะการคำนวณในรูปแบบ ภ.ง.ด. 90 และ ภ.ง.ด. 91 กันนะครับ เพราะทางทีมงานเห็นว่าเป็นรูปแบบการชำระที่มีความนิยมมากที่สุดครับ
มาถึงตรงนี้แล้วรอช้าอยู่ทำไม เปิดไฟแล้ว แล้วไปคำนวณภาษีกัน !!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!
ถ้าใครรู้ตัวว่ามีรายได้ประจำเพียงช่องทางเดียวต้องคำนวณในรูปแบบ ภ.ง.ด. 91 เลยครับ
โดยการนำยอดเงินได้พึงประเมิน หรือเรียกอย่างง่ายๆว่า เงินเดือนที่ได้รับตลอดทั้งปี มาหักออกด้วยยอดค่าใช้จ่ายที่สามารถลดหย่อนภาษีได้ เมื่อหักออกเรียบร้อยจะได้เป็นยอดเงินได้สุทธิ แล้วจึงนำยอดเงินได้สุทธิมาคำนวณตามบัญชีอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เพียงเท่านี้ก็ได้ออกมาเป็นยอดเงินภาษีที่ท่านต้องชำระแล้วครับ
ส่วนใครที่มีหลายได้หลายช่องทางหรือเรียกง่ายๆว่าเจ้าแม่โปรเจ็คต้องมาทางนี้เลย โดยต้องคำนวณในรูปแบบ ภ.ด.ง.90 โดยใช้วิธีเดียวกันกับการคำนวณภาษีในรูปแบบ ภ.ง.ด. 91 ครับ เพียงแต่ให้ท่านนำรายได้จากช่องทางอื่นๆ (เช่น ดอกเบี้ย เงินปันผล ค่าเช่า ผลกำไรจากธุรกิจ ฯลฯ) มาบวกรวมกันเสียก่อน จากนั้นคำนวณต่อไปโดยใช้วิธีเดียวกันกับรูปแบบ ภ.ง.ด. 91 เลยครับ
เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอย่างชัดเจนยิ่งขึ้น ผมจะยกตัวอย่างสถานการณ์สมมุติ มาให้ผู้อ่านได้ลองทำความเข้าใจกันอีกซักที รับรองคมชัดกว่าระดับ HD แน่นอน
คิมจุนเป็นพนักงานในบริษัทแห่งหนึ่ง ได้รับเงินเดือนๆ ละ 25,000 บาท และมีรายได้เสริมเป็นผลกำไรจากการขายของผ่านไอจีอีกเดือนละ 5,000 บาท กรณีนี้คิมจุนก็จะต้องคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในรูปแบบ ภ.ง.ด. 90 ครับ เพราะมีรายได้หลายช่องทาง (ถ้าหากนาย ก. ไม่ได้ขายของผ่านไอจี และมีรายได้เป็นเงินเดือนประจำเพียงช่องทางเดียว ก็จะต้องคำนวณโดยใช้รูปแบบ ภ.ง.ด. 91) เมื่อทราบประเภทของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ต้องชำระแล้ว ขั้นตอนถัดไปก็เริ่มจากการคำนวณเงินได้พึงประเมินหรือรายรับตลอดทั้งปีดังนี้ครับ
- เงินเดือน 25,000 บาท x12 เดือน = 300,000 บาท
- ผลกำไรจากการขายของผ่านไอจี 5,000 บาท x12 เดือน = 60,000 บาท
- ดังนั้น คิมจุน มีเงินได้พึงประเมิน = 300,000 บาท+ 60,000 บาท =360,000 บาท
เมื่อได้ยอดเงินได้พึงประเมินแล้ว จากนั้นก็จะนำมาหักค่าใช้จ่ายที่สามารถค่าลดหย่อนภาษีได้ครับ อาทิเช่น ค่าใช้จ่ายส่วนตัว ค่าเลี้ยงดูบิดามารดา ค่าเลี้ยงดูคู่สมรสที่ไม่มีรายได้ ค่าเลี้ยงดูบุตรฯลฯ
(ซึ่งเราจะมาเจาะลึกกันอีกทีในครั้งหน้านะครับ อย่าพลาดล่ะ !!!)
ส่วนสำหรับตัวอย่าง จะขอสมมุติยอดค่าลดหย่อนรวมทั้งสิ้นไว้ที่ 90,000 นะครับ และเมื่อได้ทั้งยอดเงินได้พึงประเมินและยอดค่าลดหย่อนแล้ว จากนั้นก็นำมาหักลบกัน เพียงเท่านี้ก็ได้เป็นยอดเงินได้สุทธิแล้วครับ
ยอดเงินได้พึงประเมิน 360,000 บาท- ยอดค่าลดหย่อน 90,000 บาท= ยอดเงินได้สุทธิ 270,000
จากนั้นก็มาถึงขั้นตอนสุดท้ายแล้ว เพียงนำยอดเงินได้สุทธิมาคำนวณตามบัญชีอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
(เงินได้สุทธิ 150,001 – 300,000ตามบัญชีอัตราภาษีจะหักเป็นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในอัตราร้อยละ5) ก็จะได้ออกมาเป็นยอดภาษีที่คิมจุน ต้องชำระแล้วครับ (สำหรับอัตราภาษีที่หักจากยอดเงินได้สุทธิในช่วงจำนวนอื่นๆ สามารถย้อนกลับไปดูรายละเอียดในบทความก่อนหน้านั้นเลยครับ ทางทีมงานได้แปะตารางไว้ให้แล้วเรียบร้อย ย้อนกลับไปดูโลดดด) ทีนี้ก็จับแทนค่าซะเลย !!!
ยอดเงินได้สุทธิ 270,000บาทx(อัตราภาษีร้อยละ 5)=ยอดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 13,500 บาท
ใช้โปรแกรมช่วยคำนวณได้ ซึ่งทางทีมงานจะนำมาฝากกันอย่างละเอียด ซึ่งจะมีทั้งตัวอย่างและภาพประกอบให้รับชมโดยละเอียดยิ่งกว่า HD อย่างแน่นอน แต่ !! ใจเย็นๆไว้ก่อนครับผู้อ่านที่น่ารักทุกท่าน ครั้งหน้าเราจะมาเจาะลึกเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กัน นั่นก็เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับวิธีการ คำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แบบรวบตึง !! ไม่ยากเลยใชไหมล่ะครับ
แต่สำหรับใครที่รู้สึกว่ายังซับซ้อนเกินไป หรือไม่ถนัดทางด้านดีดลูกคิดคำนวณ ก็ไม่ต้องกังวลใจไปนะครับ เพราะเราสามารถได้เงินคืน หรือก็คือ การลดหย่อนภาษีนั่นเอง บอกเลยว่าห้ามพลาดด้วยประการทั้งปวงเลยครับ แล้วพบกันใหม่ครั้งหน้านะครับ
ขอบคุณข้อมูลจาก ข้อมูลอ้างอิง : ประมวลรัษฎากร , กรมสรรพากร