ดังเป็นที่ทราบดีโดยเฉพาะสำหรับท่านที่ติดตามข่าวสารเกี่ยวกับการประมูลใบอนุญาตเครือข่าย 4G ว่าเมื่อปลายปี 2558 ที่ผ่านมานั้นตำแหน่งผู้ชนะอันดับหนึ่งได้ตกเป็นของแจส โมบาย (บริษัท แจส โมบาย บรอดแบรนด์ จำกัด) และตามมาด้วยอันดับสองอย่างทรู (บริษัท ทรู มูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด) ในมูลค่าการประมูลรวมกันถึง 151,952 ล้านบาท ซึ่งยังคงถกเถียงกันอยู่ว่าอาจจะเป็นราคาที่สูงทุบสถิติโลกทีเดียว แต่นับถึงวันนี้ ข่าวคราวของบริษัทยักษ์ใหญ่ทั้งคู่รวมถึงแวดวงของผู้ให้บริการด้านการสื่อสารนั้นมีความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง หลังการ ประมูล 4G ไปอย่างไร และมีข้อมูลใดที่ควรทราบบ้างนั้น ขอเชิญติดตามรับชมกันครับ
แจส โมบายคือใคร
ในส่วนนี้หลายท่านอาจทราบดีอยู่แล้วแต่ก็เชื่อว่ามีอีกจำนวนไม่น้อยเช่นกันที่อาจจะยังไม่คุ้นหูกับชื่อแจส โมบาย ซึ่งสำหรับแจส โมบาย (บริษัท แจส โมบาย บรอดแบรนด์ จำกัด) นั้นเป็นบริษัทหน้าใหม่ที่เพิ่งจัดตั้งและจดทะเบียนขึ้นในปี 2558 แต่ก็การันตีคุณภาพและความวางไว้วางใจได้จากการเป็นบริษัทลูกในเครือจัสมิน (บริษัท จัสมิน อินเตอร์ เนชั่นแนล จำกัด) ที่ให้บริการด้านเทคโนโลยีการสื่อสารทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศมาอย่างยาวนาน การชนะการประมูลใบอนุญาต 4G ในครั้งนี้จึงเสมือนเป็นการเติมเต็มให้ธุรกิจด้านการสื่อสารในเครือของบริษัทมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ทั้งยังครอบคลุมอย่างครบวงจรอีกด้วย
คาดการณ์แนวโน้มในอนาคต
หลังจากชนะการประมูล ก็ได้มีผลคาดการณ์ถึงแนวโน้มของตลาดผู้ให้บริการสัญญาณเครือข่ายไร้สายในอนาคต ว่าอาจมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม โดยมีบริษัทแจส โมบายเป็นผู้เล่นหน้าใหม่ซึ่งเข้ามาพร้อมกับเทคโนโลยีที่ล้ำหน้า ทำให้แวดวงของตลาดด้านการสื่อสารและโทรคมนาคมอาจมีความคึกคักและมีความหลากหลายของบริการให้เลือกเลือกใช้มากยิ่งขึ้น แต่น้องใหม่ที่กล่าวถึงนี้จะสามารถบริหารจัดการและแย่งชิงส่วนแบ่งทางการตลาดมาจากผู้เล่นรายเดิมได้มากน้อยอย่างไรก็คงจะต้องติดตามกันต่อไป อย่างไรก็ตาม ในด้านของแจส โมบาย (บริษัท แจส โมบาย บรอดแบรนด์ จำกัด) ก็ได้ออกแถลงการณ์แสดงถึงความมั่นใจว่าบริษัทของตนจะสามารถก้าวเข้ามาเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงอย่างครบวงจรได้ในอนาคต
ค่าใบอนุญาต 4G จ่ายแบบชำระ
ในส่วนนี้สำหรับผู้ที่ยังไม่ทราบอาจต้องศึกษาทำความเข้าใจเสียก่อน สำหรับระบบการชำระค่าใบอนุญาต 4G นั้น มีกำหนดการผ่อนชำระแบ่งออกเป็นหลายงวด โดยบริษัทผู้ชนะจะไม่ได้จ่ายเป็นเงินก้อนเดียว ทั้งนี้ก็เพื่อรักษาเสถียรภาพทางการเงินและความมั่นคงในระยะยาวของบริษัท ทั้งยังเป็นการเปิดโอกาสให้บริษัทผู้ชนะการประมูลได้สามารถบริหารจัดการเงินทุนได้อย่างเป็นอิสระ และแสวงหารายได้จากใบอนุญาตนั้นเสียก่อนจึงจะนำมาผ่อนชำระในภายหลังจนครบถ้วน
ข่าวคราวการผ่อนชำระค่าใบอนุญาต 4G
ล่าสุดเมื่อวันที่ 1 มีนาคมที่ผ่านมานี้ก็ได้มีข่าวว่า ทรู (บริษัท ทรู มูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด) ได้ลงนามต่อสถาบันการเงิน 6 แห่ง เพื่อออกเอกสารการันตีวงเงินรวมกว่า 7 หมื่นล้านบาทในส่วนที่ต้องชำระเรียบร้อยแล้วโดยการชำระนั้นมีสัญญาว่าจะทยอยผ่อนจ่ายแบ่งออกเป็นงวดที่หนึ่ง สอง สาม และสี่ กระจายตัวกันไป ทั้งนี้ สถาบันทางการเงินที่ให้การรับรองทั้ง 6 แห่ง ได้แก่ ธนาคารไอซีบีซี ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารกรุงไทย และธนาคารเกียรตินาคิน
ส่วนด้านของแจส โมบาย (บริษัท แจส โมบาย บรอดแบรนด์ จำกัด) ก็มีคำแถลงยืนยันออกมาว่าจะเริ่มชำระค่าใบอนุญาตงวดที่แรกในวันที่ 18 มีนาคมนี้เป็นจำนวนเงิน 8,040 ล้านบาท พร้อมเอกสารรับรองจากสถาบันการเงิน
สองผู้แพ้จากการประมูล
หัวข้อสุดท้ายนี้คงจะขาดไปไม่ได้ เพราะเป็นคำถามสำคัญที่ว่าสองค่ายใหญ่อย่างเอไอเอส (บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด) กับดีแทค (บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด) ที่แพ้การประมูลไปอย่างเหลือเชื่อนั้นปัจจุบันกำลังทำอะไร และมีแผนการในอนาคตอย่างไร ข่าวคราวล่าสุดที่ติดตามได้นั้นทราบว่าทั้งสองบริษัทดังกล่าวต่างก็กำลังพยายามพัฒนาระบบสัญญาณเครือข่ายเดิมที่ตนมีอยู่ โดยอาศัยพื้นฐานของเครือข่ายและฐานผู้ใช้ที่เข้มแข็งอยู่แล้ว เพื่อเตรียมรับมือกับระบบสัญญาณเครือข่าย 4G ที่กำลังจะเข้ามามีบทบาทอย่างเต็มตัวในอนาคต ประกอบกับการบริหารจัดการเพื่อสร้างแพ็กเกจที่น่าสนใจ เพื่อเข้ามาแย่งชิงพื้นที่ทางการตลาดจากสองค่ายผู้ชนะ และรักษาฐานลูกค้าเดิมของตนไว้ เพราะฉะนั้น สำหรับท่านใดที่ใช้สัญญาณเครือข่ายของเอไอเอสและดีแทคอยู่ ก็ไม่จำเป็นต้องกังวลใจหรือรีบย้ายค่ายผู้ให้บริการสัญญาณแต่อย่างใด เพราะถึงแม้ทั้งสองบริษัทจะแพ้การประมูลและไม่สามารถให้บริการสัญญาณเครือข่ายในระบบ 4G ได้ แต่ก็ย่อมจะต้องเผยเอาข้อโดดเด่นที่มีอยู่ออกมาในรูปแบบของแพ็กเกจสุดคุ้มเพื่อแข่งขันชิงส่วนแบ่งทางการตลาด ซึ่งก็นับว่าเป็นผลพลอยได้ในทางที่ดีสำหรับทุกท่านเช่นกัน