ปัจจุบันการทำงานมีการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยเป็นอย่างมาก วัฒนธรรมในการทำงานเปลี่ยนไปเราสามารถทำงานจากตรงไหนก็ได้ และในอนาคตก็มีแนวโน้มว่าจะมีบทบาทมากกว่านี้ ซึ่งรูปแบบของการทำงานอาจเปลี่ยนไปอีก โดยมีผู้คาดการณ์อนาคตเอาไว้ว่ารูปแบบการทำงานขององค์กรจะเปลี่ยนไปอย่างคาดไม่ถึง ได้แก่
แนวโน้มที่ 1 : สุดยอดแห่งการทำงานแบบเคลื่อนที่
จากข้อมูลของ ไอดีซี (IDC) ในปี 2015 พบว่ามีผู้คนถึง 1.3 พันล้านคนที่ใช้ สมาร์ตโฟนหรือแท็บเล็ตในการทำงานจากระยะไกล ซึ่งแจ็ค อูลด์ริช นักอนาคตศาสตร์ระดับโลก คาดการณ์ต่อไปว่า สมาร์ตโฟนจะเติบโตในอัตราส่วน 6 : 1 เมื่อเทียบกับเครื่องพีซี นั่นคือผู้คนจะหันมาใช้อุปกรณ์ที่สามารถพกพาไปไหนมาไหนได้เพื่อความคล่องตัวในการทำงานมากขึ้น ซึ่งการทำงานดังกล่าวจะกลายเป็นมาตรฐานของการทำงานในอนาคต อุปกรณ์พกพาบางรุ่นจะเปลี่ยนรูปแบบเป็นคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่มีคุณสมบัติครบครัน เล็กแต่ทำงานได้รวดเร็วเหมือนเครื่องใหญ่ คาดว่าในอนาคตอันใกล้นี้ บริษัทไม่น้อยกว่า 50% จะหันมาใช้อุปกรณ์ที่ให้พนักงานพกไปไหนมาไหนก็ได้ เพื่อลดต้นทุนด้านไอที อีกทั้งเพิ่มความคล่องตัวให้แก่พนักงานอีกด้วย
แนวโน้มที่ 2: โลกาภิวัฒน์ที่รวดเร็ว
เมื่อผู้คนสามารถสื่อสารกันได้อย่างรวดเร็ว โลกของธุรกิจก็สามารถขยายฐานลูกค้าได้อย่างไร้ขีดจำกัด จะมีแพลตฟอร์มที่เรียกว่าอีคอมเมิร์ช ซึ่งจากการวิจัยของ ฟอร์เรสเตอร์ รีเสิร์ช พบว่า รายได้เฉพาะจากธุรกิจ
อีคอมเมิร์ซยังสูงขึ้นทั่วโลก แค่ในสหรัฐอเมริกา ยุโรปตะวันตก และจีน เฉพาะปีนี้ปีเดียวก็ทำรายได้จากการขายของออนไลน์ได้กว่า 800 พันล้านดอลลาร์ การทำธุรกิจไม่ได้ถูกจำกัดแค่เฉพาะในประเทศอย่างเดียวอีกแล้ว
ด้วยเหตุนี้จึงเชื่อได้ว่าแพลทฟอร์มอีคอมเมิร์ชจะทำให้โลกของธุรกิจเปลี่ยนแปลงไปโดยสิ้นเชิง แต่ก็ต้องอาศัยเครื่องมือในการทำงานที่มีประสิทธิภาพที่สามารถขจัดปัญหาเรื่องระยะทางได้ อีกทั้งเชื่อมต่อฟังก์ชั่นทางธุรกิจบางอย่างเข้าด้วยกัน เริ่มตั้งแต่การเข้าเยี่ยมชมการประกันคุณภาพของโรงงานผลิตจากระยะไกล การให้คำปรึกษาผ่านทางวิดีโอของผู้เชี่ยวชาญระหว่างประเทศ การสัมภาษณ์บุคคลทางไกล และการตรวจสอบการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ การสื่อสารที่รวดเร็วจะทำให้ทีมงานที่อยู่กระจัดกระจายทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปัญหาเรื่องระยะทางจะถูกลบออกจากสารระบบของการทำธุรกิจ
แนวโน้มที่ 3 : การทำงานร่วมกันผ่านคลาวด์
IDC ประมาณการว่าตลาดคลาวด์ดีวันดีคืนและกำลังจะพุ่งขึ้นไปแตะ 118 พันล้านดอลลาร์ในปี 2016 ซึ่งโซลูชันที่เกี่ยวข้องกับคลาวด์ส่วนใหญ่จะอิงไปกับความต้องการทางธุรกิจที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้น เช่น การทำงานร่วมกันผ่านวิดีโอแบบเรียลไทม์ที่อยู่ในรูปแบบของบริการ Video as a Service (VaaS) VaaS จะมากับความสามารถในการเชื่อมต่อผ่านอุปกรณ์ต่างๆ มากขึ้น คลาวด์จะช่วยให้บริษัทต่างๆ สามารถเฝ้าดูการทำงานของศูนย์ข้อมูลจากระยะไกลได้ และทีมงานสามารถโต้ตอบกันได้ด้วยการทำงานร่วมกันผ่านทางวิดีโอ อันเป็นการช่วยลดปัญหาต้นและลดระยะเวลาในการเดินทางไปประชุมได้อย่างมาก
แนวโน้มที่ 4 : อุปกรณ์อัจฉริยะ
การ์ทเนอร์คาดการณ์ไว้ว่า ในปี 2017 สิ่งของต่างๆ จะมีความชาญฉลาดเหนือกว่าการทำงานตามคำสั่งที่ตั้งโปรแกรมเอาไว้ จากการฝังArtificial Intelligence (AI) และ Advanced Machine Learning (ML) เพื่อที่จะให้สามารถทำงานต่างๆ ได้อย่างซับซ้อนยิ่งขึ้น อีกทั้งสามารถโต้ตอบกับสิ่งรอบตัวและผู้คนได้อย่างเป็นธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าอัจฉริยะ, Drone รถยนต์ไร้คนขับ รวมถึงการทำงานแบบ Stand alone ไปสู่การทำงานร่วมกับอุปกรณ์อัจฉริยะอื่นๆ ที่อยู่รอบด้าน ลักษณะการทำงานในอนาคต จะลดการพึ่งพาแรงงานจากมนุษย์ลงได้อย่างมาก
แนวโน้มที่ 5 : Big Data และ Data Analysis
ไอดีซีคาดการณ์ว่า การใช้ข้อมูลจำนวนมาก (Big Data )ในปัจจุบันจะยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 3 เท่าในปี 2016 ข้อมูลจากโซเชี่ยลเน็ตเวิร์ค วิดีโอและภาพ จะกลายเป็นแหล่งข้อมูลที่สำคัญในการเรียนรู้เกี่ยวกับลูกค้า การเข้าถึงลูกค้าจะเปลี่ยนไปจากเดิม พวกเขาสามารถบอกได้ว่าลูกค้ามีความต้องการในผลิตภัณฑ์ด้านไหน และเซิร์ฟสิ่งที่ลูกค้าต้องการเท่านั้น และนั่นจะทำให้ลดต้นทุนในภาพรวมได้หลายอย่างดี และยังสามารถเอาใจลูกค้าได้อีกด้วย
แนวโน้มที่ 6 : ระบบจะเต็มไปด้วยการใช้งานเฉพาะเจาะจง
ระบบอัจฉริยะ เช่น AI และ Machine Learning จะถูกผสมผสานกับการวิเคราะห์เพื่อช่วยให้สามารถค้นพบเนื้อหาได้แบบเฉพาะเจาะจง ซึ่งเป็นแนวโน้มสำคัญในการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในอนาคต ซึ่งระบบดังกล่าวจะเติบโตขึ้นมากตั้งแต่ปี 2017 เป็นต้นไป การทำงานร่วมกับ Big Data จะเก็บเนื้อหาการประชุมต่าง ๆ แม้กระทั่งรูปแบบในการทำงานร่วมกันของทีมจะถูกเก็บบันทึกไว้ทั้งหมด การค้นหาข้อมูลย้อนหลังทั้ง รายละเอียดของงานที่นำเสนอ การสนทนา จะถูกเก็บและนำมาใช้ได้อย่างดี ลดการทำงานซ้ำซ้อน มันเปรียบได้กับห้องสมุดในยุคดิจิทัลที่เพียงแค่ Search จะเป็นเพียงการหาข้อมูลภายในองค์กรเท่านั้น
แนวโน้มที่ 7 : การเขียนโปรแกรมการจะทำให้ใช้งานได้คล่องตัว
เพื่อผลักดันให้มีการทำงานร่วมกันอย่างแท้จริง การเขียนโปรแกรมที่ใช้ในองค์กรต้องมีความยืดหยุ่น ปัจจุบันหลายองค์กรใช้เทคโนโลยีที่อิงกับมาตรฐานที่ควรจะเป็น แต่มักปิดกั้นไม่ให้ทำงานร่วมกันในวงกว้างเท่าไร จึงมีแนวคิดที่ชื่อว่า Open Standards ที่นักพัฒนาซอฟต์แวร์สามารถเปิดให้ทุกคนสามารถใช้ประโยชน์จากโซลูชันด้านการทำงานร่วมกันได้ เพื่อทำให้การทำงานยืดหยุ่นขึ้น และอาจจะตัดงบบางส่วนที่ไม่จำเป็นออกไป
จากแนวโน้มการทำงานทั้ง 7 อย่างเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการยุคใหม่ต้องเรียนรู้ และปรับเปลี่ยนเพื่อให้ทันยุคทันสมัยอีกทั้งประหยัดงบประมาณค่าใช้จ่ายมากขึ้นในอนาคต ซึ่งก็มีแต่สิ่งดีๆทั้งนั้น..