ตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์นั้น กำหนดให้เจ้าหนี้ฟ้องเรียกชำระหนี้ พร้อมดอกเบี้ย จากลูกหนี้ที่ผิดนัดชำระหนี้ได้ เมื่อศาลมีคำพิพากษาแล้ว จะบังคับใช้หนี้จากทรัพย์สินของลูกหนี้ ซึ่งถือว่าเป็นขั้นตอนที่ถูกต้องในการเรียกคืนหนี้
เมื่อลูกหนี้ชำระหนี้ไม่ตรงเวลา หรือผิดนัดชำระหนี้ เจ้าหนี้หลายคนเกิดอาการร้อนใจ เกรงว่าจะไม่ได้รับเงินคืนจากลูกหนี้ จึงจ้างนักทวงหนี้ ทั้งแบบบุคคลหรือ สำนักงานกฎหมาย เพื่อดำเนินการ ทวงหนี้ แทน แลกกับค่าจ้าง ซึ่งมากน้อยขึ้นอยู่กับจำนวนหนี้ที่ทวงได้ ดังนั้น จึงทำให้เกิดวิธีการ ทวงหนี้ หลายรูปแบบ ทั้งถูกกฎหมาย หรือไม่ถูกกฎหมาย เพื่อให้ลูกหนี้จ่ายคืนหนี้ได้เร็วที่สุด แต่จะพยายามหลีกเลี่ยงการฟ้องศาล เนื่องจากมีขั้นตอนเยอะ ทำให้ไม่ทันใจเจ้าหนี้ ดังนั้น ลูกหนี้ ญาติพี่น้อง หรือผู้เกี่ยวข้องต่างหวั่นเกรงกับพฤติกรรมของนักทวงหนี้
แท้จริงแล้ว การ ทวงหนี้ นั้นมีขอบเขตที่กฎหมายกำหนด ซึ่งบางพฤติกรรม อาจนับว่าเป็นการกระทำที่กำลังละเมิดกฎหมายอาญาอยู่ และมีสิทธิติดคุกได้ ซึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 337 ระบุไว้ว่า
ผู้ถูกทวงหนี้แท้จริง จักต้องมีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับการกู้ยืมเงินเท่านั้น เช่น ลูกหนี้ ลูกหนี้ร่วม หรือผู้ค้ำประกัน เป็นต้น การข่มขู่ คุกคาม ญาติพี่น้อง เพื่อนฝูง หรือผู้เกี่ยวข้องกับลูกหนี้ ล้วนเป็นความผิดอาญาฐานกรรโชกทรัพย์ได้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 337 บัญญัติว่า ผู้ใดข่มขืนใจผู้อื่นให้ ยอมให้ หรือ ยอมจะให้ตนหรือผู้อื่นได้ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือโดยขู่เข็ญว่า จะทำอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียงหรือทรัพย์สินของผู้ถูกขู่เข็ญ หรือ ของบุคคลที่สาม จนผู้ถูกข่มขืนใจยอมเช่นว่านั้น ผู้นั้นกระทำผิดฐานกรรโชก มีโทษจำคุกไม่เกินห้าปี และปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
การกระทำที่มีความผิดฐานกรรโชค ดังเช่น การขู่ฆ่า ขู่ทำร้ายร่างกาย หรือ การกระทำใดๆ ให้ผู้ถูกข่มขืนใจ หรือผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส หรือ มีอาวุธติดตัวมาขู่เข็ญ ผู้กระทำต้องมีโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือน ถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่ 1,000 บาท ถึง 14,000 บาท ดังนั้น ถ้าหากนักทวงหนี้ที่ใช้พฤติกรรม ดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นการข่มขู่ด้วยวาจาหยาบคาย ทำร้ายร่างกาย กักขัง ต่อลูกหนี้ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องแล้วนั้น ผู้ถูกทวงหนี้สามารถแจ้งความเพื่อดำเนินคดีกับกลุ่มคนเหล่านั้นได้ทันที กฎหมายจะคุ้มครองผู้สุจริตเท่านั้น ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นลูกหนี้ หรือเจ้าหนี้ ก็ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายเดียวกัน ด้วยกันทั้งสิ้น