คลิปวิดีโอและ เรื่องแชร์หลอกลวง ที่อย่าเชื่ออย่างเด็ดขาด
เทคโนโลยีที่มาพร้อมกับการใช้งานที่หลากหลาย สร้างรูปแบบของการเป็นตัวเองผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์ขนาดใหญ่และสามารถลงทั้งรูปแลวิดีโอต่าง ๆ ที่จะสามารถแชร์ต่อกันได้อย่างทั่วถึงจึงทำให้การใช้ชีวิตดูเหมือนจะสะดวกสบายและง่ายดายไปจนหมดทุกเรื่อง แม้กระทั่งเคล็ดลับต่าง ๆ ก็สามารถรู้ได้ทันทีเพียงแค่นิ้วคลิ๊กที่เมาส์หรือสัมผัสที่หน้าจอมือถือก็สามารถรู้ได้ทันทีตั้งแต่เทคนิคการทำอาหาร การดูแลสัตว์เลี้ยงหรือแม้กระทั่งการเลี้ยงเด็ก เป็นต้น
รีวิวสินค้า เรื่องจริง หรือเรื่องโกหก ?
จากบทความที่แล้วที่นำเสนอเรื่องกลยุทธ์การค้าขายออนไลน์ มันมีความเกี่ยวเนื่องกับการค้นหาข้อมูล และแน่นอนการรีวิวหรือแนะนำว่าสินค้านั้นดี ร้านค้านั้นดี บริการนั้นเลิศ มันคือการรีวิวจากคนใช้จริงๆหรือเปล่า ซึ่งตรงนี้บอกได้เลยว่า มีปะปนกันทั้งรีวิวจริงๆจากคนใช้จริงหรือมีประสบการณ์จริงในสิ่งที่เขียนรีวิว แต่ไม่ทั้งหมดเพราะบางส่วนก็เป็นการจ้างเขียนรีวิวหรือมีหน้าม้ามาเขียนเชียร์ให้ สงสัยใช่ไหมว่าทำไมเขาต้องทำแบบนี้ ?
รู้ให้ทัน กลยุทธ์การขายของออนไลน์ ที่หลอกลวง
หากคุณเป็นคนที่ท่องโลกโซเชี่ยล และชอบซื้อสินค้าผ่านทางออนไลน์ คงจะเคยเห็นกลยุทธ์การค้าขายออนไลน์ที่ออกแนวฮาร์ดคอร์ เกินจริง หรือแม้แต่หลอกลวงผู้บริโภคอย่างเราๆให้หลงกลหลงเชื่อและซื้อสินค้านั้นมาใช้ แต่พอใช้สินค้านั้นไปแล้วผลลัพธ์ที่ได้กลับไม่เหมือนตามที่เขาโฆษณากันไว้ เผลอๆ อาจมีผลข้างเคียงอีกต่างๆหาก ซึ่งเหตุการณ์แบบนี้มีให้เห็นบ่อยๆกับสินค้าประเภทความสวยความงามรวมทั้งอาหารเสริมต่างๆด้วย
อย่าเชื่อ อย่าซื้อ ! รู้เท่าทันกลโกง หลอกประมูลทองคำ
ด้วยความสวยงามของทองคำและมูลค่าที่สูง ใครๆ ก็อยากได้จึงได้เกิดเป็นการประมูลทองคำผ่านทางโซเชียลชื่อดังอย่าง Facebook หรือเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับการประมูลสินค้าต่างๆ ที่ไม่มีมาตรฐาน และไม่มีการจดทะเบียนอย่างถูกต้อง โดยจะมีวิธีการเล่นในรูปแบบที่ให้ลูกค้าเข้ามาประมูลทองคำตามที่ทางเจ้าของเพจหรือเจ้าของเว็บไซต์ได้กำหนดเอาไว้ ที่อาจจะเป็นสร้อยคอ แหวน และข้อมือ โดยจะทำการบิทราคา ที่การบิทครั้งหนึ่งก็ประมาณ 100-200 บาท สูงหน่อยก็จะเป็นหลักพันบาท และในบางครั้งก็อาจจะเป็นเครื่องประดับเพชรเข้ามาร่วมด้วย
วิเคราะห์ ความหลงทำให้ โดนหลอกเอาเงิน จริงเหรอ ?
ระยะสองสามวันมานี้คงไม่มีข่าวไหนดังกระฉ่อนโซเชียลเท่ากับ เรื่องคาวๆของนักฟุตบอลรายหนึ่ง ที่มีข่าวว่าหลอกสาวๆเสียทั้งตัวเสียทั้งเงิน มีสาวออกมาแฉมากมาย ซึ่งเชื่อว่าหลายคนคงอ่านแล้ว ซึ่งเราถือว่าเป็นเรื่องส่วนตัวและเราจะไม่ยุ่งเรื่องนี้ แต่ที่นำมากล่าวถึงคือ มีหลายๆคอมเม้นท์สงสัยว่า ทำไมสาวๆหลายคนถึงยอมให้หลอก ทำไมถึงยอมโอนเงินให้ ทำไมถึงเชื่อ เราลองมาวิเคราะห์กันว่าจุดอ่อนอะไรที่ทำให้สาวๆโดนหลอกเอาเงิน และควรจะระวังตัวกันอย่างไรถึงจะไม่โดนหลอกไม่ว่าผู้ชาย ผู้หญิง หรือในกรณีอื่นๆก็ตาม
ธุรกิจท่องเที่ยวจะเฟื่องหรือฟุบ เมื่อต้องเจอกับ ไกด์ผี-ทัวร์เถื่อน
หากเป็นไปได้ ไม่ว่าใครก็อยากให้ปัญหานี้หมดไป เพื่อขจัดเสี้ยนหนามออกก่อนที่แผลจะกลัดหนอง และหวังว่า เสี้ยนหนามที่หยั่งรากลึกมาหลายปีนี้จะถูกถอนรากถอนโคนออกไปโดยเร็วที่สุด ก่อนกลายเป็นแผลที่ฉุดเอารากฐานอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่แข็งแรงและมีความสำคัญทางเศรษฐกิจอันหนึ่งของเราให้ตกต่ำล้มฟุบลงไปจนแก้ไขอะไรไม่ได้
คนไทยจะ ถูกมิจฉาชีพต่างชาติหลอก ไปอีกนานแค่ไหน ?
เมื่อกฎหมายยังพึ่งพาไม่ค่อยได้ ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อจึงต้องมีความรอบคอบในการใช้ชีวิตที่มากยิ่งขึ้น และที่สำคัญสแกมเมอร์เหล่านี้จะใช้จุดอ่อนของผู้หญิงไทย ที่พอจะอ่านและสื่อสารภาษาอังกฤษพอได้ และใช้คำที่พอให้อ่านออกโดยการใช้จิตวิทยาในการหลอกจีบ พูดคำหวาน และอวดอ้างว่าทำงานดีมีฐานะทางการเงินที่ร่ำรวย
ใช้ธนาคารออนไลน์ PayPal ต้องระวัง อีเมล์ปลอม
เมื่อธนาคารออนไลน์ให้ความสะดวกสบายที่มากขึ้น ก็ต้องยอมรับว่า ก็เป็นการเปิดช่องทางให้กับพวกมิจฉาชีพจำนวนมากด้วย ผู้ใช้ควรตระหนักถึงความเสี่ยง ณ จุดนี้ให้มากที่สุด ควรเข้าไปตรวจการทำงานของ PayPal ให้ดี อ่านวิธีการใช้บริการและคำเตือนต่าง ๆ รวมทั้งคอยอ่านข่าวและความเป็นไปอยู่เสมอ ๆ เพราะจำไว้ว่า มิจฉาชีพมองหาวิธีใหม่ ๆ ได้ตลอดและสิ่งที่ทำได้คือ การใช้บริการอย่างระมัดระวัง ป้องกันสิ่งที่อาจเกิดเท่าทำได้
การเงินปลอดภัย แค่ เชคยอดบิลก่อนจ่าย
หากไม่อยากเจอหรือเป็นอย่างที่กล่าวมา ก็รอบคอบสักนิดเงินในกระเป๋าจะปลอดภัย ไม่ใช่แค่ราคาอาหารเท่านั้นนะแต่หมายถึงทุกเรื่องที่ต้องจ่ายเงินต้องตรวจสอบให้รอบคอบอ่านป้ายราคาให้ชัดเจน และขอดูรายการทุกครั้งว่าตรงกับที่สั่งและราคาถูกต้องตามเมนูหรือไม่
ระวัง ! แก๊งค์ก๊อปปี้ข้อมูลบัตรเครดิต รูดซื้อสินค้า
ในปัจจุบันนี้บัตรเครดิตกลายเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกที่ขาดไม่ได้สำหรับหลาย ๆ คนในการจับจ่ายใช้สอยซื้อสิ่งของต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน แต่ก็เช่นกันที่มักจะปรากฏข่าวกลุ่มมิจฉาชีพที่พยายามคัดลอกหรือปลอมแปลงบัตรเครดิตโดยวิธีการต่าง ๆ และสร้างความเดือดร้อนให้แก่เจ้าของบัตรต้องรับผิดชอบและติดตามชดใช้เงินแทน ซึ่งรูปแบบการปลอมแปลงบัตรเครดิตอาจยกตัวอย่างจากการจับกุมของสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้ใน 4 ลักษณะ