ในการบริหารกิจการให้สำเร็จนั้น ผู้บริหารมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการรักษาสมดุลของ เงินทุนหมุนเวียน ให้อยู่ในสภาวะที่เหมาะสม
โดยสมดุลของทุนหมุนเวียนนั้นสามารถดูหรือคาดคะเนได้จาก การพยากรณ์การตลาดอย่างแม่นยำ การจัดทำงบการเงินโดยคาดคะเน และการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงินที่เหมาะสม การตัดสินใจทางการเงิน แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
- การตัดสินใจเกี่ยวกับการลงทุน
- การตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดหาเงินทุน
- การตัดสินใจเกี่ยวกับการปันผล
การวางแผนกลยุทธ์จะสามารถช่วยให้เราสามารถคาดคะเนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอนาคตได้ และเป็นการหาแนวทางการป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ที่เหนือความคาดหมายขึ้นเช่นกัน ซึ่งการวางแผนกลยุทธ์ที่มีความสำคัญสำหรับผู้บริหารมี 4 ประการคือ
- การวางแผนกลยุทธ์จะเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจในปัจจุบันที่มีผลต่ออนาคต เป็นการคาดคะเนล่วงหน้า ดังนั้นผู้บริหารมีความจำเป็นที่จะต้องตัดสินใจโดยการคาดคะเนความเป็นไปได้ในอนาคต ให้ใกล้เคียงที่สุดกับสิ่งที่จะเกิดขึ้น
- การวางแผนกลยุทธ์เป็นกระบวนการ เป็นการวางแผนที่มีหลายชั้นเพื่อการรองรับชั้นต้นนั่นเอง
- การวางแผนกลยุทธ์เป็นปรัชญา เป็นการวางแผนตามทฤษฎี และเป็นการวางแผนที่จัดได้ว่ามีรูปแบบที่สุด
- การวางแผนกลยุทธ์เป็นโครงสร้าง เป็นการวางแผนที่ใช้ระยะเวลาที่ยาวนานที่สุด และมีความปลอดภัยที่สุดในการป้องกันความเสี่ยง
เงินทุนหมุนเวียน สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ
- เงินทุนหมุนเวียนถาวร คือ มูลค่าของเงินทุนหมุนเวียนที่ธุรกิจต้องการอย่างต่ำที่สุด เพื่อรักษาไว้ซึ่งการดำเนินงานตามปกติ
- เงินทุนหมุนเวียนผันแปร คือ มูลค่าของเงินทุนหมุนเวียนที่ธุรกิจต้องรักษาไว้ ซึ่งการดำเนินงานในกรณีพิเศษ
พิจารณาจากการแลกเปลี่ยนชดเชยระหว่างความเสี่ยงและผลตอบแทนซึ่งเกี่ยวข้องกัน สามารถจำแนกได้ดังนี้
- สัดส่วนระหว่างสินทรัพย์หมุนเวียนและสินทรัพย์ถาวร เป็นสัดส่วนที่ยากต่อการคำนวณจึงสามารถเกิดความผิดพลาดได้
- สัดส่วนระหว่างหนี้สินหมุนเวียนและเงินทุนระยะยาวใช้ในการลงทุนสินทรัพย์หมุนเวียน
การกำหนดนโยบายแบ่งเป็น 4 แบบ คือ
- นโยบายที่กำหนดให้ธุรกิจจักหาเงินทุนตามอายุของสินทรัพย์ที่ธุรกิจต้องใช้ นโยบายนี้จะมีความเสี่ยงเกิดขึ้นเนื่องจากไม่สามารถคาดคะเนการแสเงินสดได้อย่างถูกต้อง
- นโยบายที่ไม่สามารถแบ่งแยกสินทรัพย์หมุนเวียนออกเป็นส่วนและส่วนผันแปร ในนโยบายนี้ฝ่ายบริหารมีนโยบายที่จะจัดหาเงินทุนเพื่อนำมาลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียน ส่วนผันแปรหลังจากหักเจ้าหนี้การค้าและค่าใช้จ่ายค้างจ่ายด้วยการก่อนหนี้ระยะยาว การจัดหาเงินทุนในลักษณะนี้ ความเสี่ยงในเรื่องการชำระหนี้เงินกู้ระยะยาวนั้นไม่มี ธุรกิจจะมีความคล่องตัวสูง ลีเงินเหลือใช้ในบางเวลา
- นโยบายในการใช้เงินทุนระยะสั้นจัดหาสินทรัพย์ส่วนผันแปรและสินทรัพย์หมุนเวียนส่วนถาวรบางส่วน และใช้เงินทุนระยะยาวจัดหา สินทรัพย์หมุนเวียนส่วนถาวรที่เหลือ และสินทรัพย์ถาวร นโยบายนี้สามารถทำกำไรได้สูงสุด เนื่องจากใช้เงินทุนจากแหล่งเงินทุนระยะสั้น แต่จะมีความเสี่ยงจากการขาดสภาพคล่องสูง เกิดจากการที่ธุรกิจต้องจัดหาเงินทุนระยะสั้น ซึ่งมีอัตราดอกเบี้ยไม่แน่นอนอยู่เสมอ หรือเกิดจากความไม่สมดุลของกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน
- นโยบายที่ต้องอิงอาศัยdkiใช้เงินทุนระยะยาวจัดหาสินทรัพย์ถาวร สินทรัพย์หมุนเวียนส่วนถาวรตลอดจนสินทรัพย์หมุนเวียนส่วนผันแปบางส่วน และใช้เงินทุนระยะสั้นจัดหาสินทรัพย์หมุนเวียนส่วนผันแปรส่วนที่เหลือ นโยบายนี้จะทำให้ธุรกิจมีส่วนสำรองเพื่อความปลอดภัย
การวางแผนและพยากรณ์ทางการเงิน
- การพยากรณ์โดยใช้แนวโน้ม ขึ้นอยู่กับข้อมูลที่ผ่านมาทั้งหมดของรายการทางการเงินที่ได้ถูกพยากรณ์ขึ้น ขึ้นอยู่กับแนวโน้มในอดีตและ ความถูกต้องตามฤดูกาล
- การพยากรณ์โดยใช้อัตราส่วน แสดงถึงความสัมพันธ์ของข้อมูลทางการเงินสองชนิด แสดงในรูปอัตราส่วน
- การพยากรณ์โดยใช้กราฟและสถิติ เป็นวิธีการที่ให้ผลค่อนข้างแน่นอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการพิจารณาดูความสัมพันธ์ของรายการทางการเงินสองรายการที่เกิดขึ้นในอดีตเพื่อใช้ในการพยากรณ์
ปัญหาในการพยากรณ์ทางการเงิน
ไม่สามารถรับรองได้ว่าจะต้องเกิดขึ้นจริงตามที่ไดพยากรณ์ไว้เสมอไป การพยากรณ์ที่ดีและให้ผลค่อนข้างแน่นอนนั้นขึ้นอยู่กับความคิดเห็นส่วนตัว รวมกับการวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นผู้จัดการทางการเงินจะต้องเลือกใช้วิธีพยากรณ์ที่จะให้ผลออกมาสมเหตุสมผลใกล้เคียงกับความจริงได้
งบประมาณและแผนทางการเงิน
งบประมาณ คือ แผนการที่คาดไว้ว่าจะต้องจ่าย โดยการคิดล่วงหน้าและแสดงออกมาเป็นตัวเลขงบประมาณ อาจแสดงออกมาในรูปของตัวเงิน จำนวนชั่วโมงในการทำงาน จำนวนผลิตภัณฑ์ จำนวนชั่วโมงเครื่องจักรงบประมาณสัมพันธ์กับหน้าที่หลักในการบริหารธุรกิจทั้ง 5 หน้าที่ คือ
- การวางแผน คือการกำหนดเกี่ยวกับสิ่งที่จะต้องจัดทำในอนาคตไว้ล่วงหน้า
- การจัดการองค์การ คือ การระบุให้ชัดว่าหน้าที่ใดเป็นหน้าทีหลัก
- การมอบอำนาจหน้าที่ คือ การบรรจุพนักงานให้เหมาะสมกับตำแหน่ง
- การอำนวยการ คือ การอำนวยกรในการปฏิบัติงานหน้าที่ในการจัดการองค์การ การมอบหมายอำนาจหน้าที่ และการอำนวยการทั้งสามหน้าที่นี้
- การควบคุม คือ การจัดทำรายงานการปฏิบัติงานขององค์การ
งบประมาณ แบ่งตามชนิดของการวางแผนได้เป็น 2 ชนิด คือ งบประมาณระยะสั้นแลพระยะยาว งบประมาณระยะสั้นแบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ
- งบประมาณดำเนินการ เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานในหน่วยงานทุกแผนก
- งบประมาณการเงิน ข้อมูลที่อยู่ในงบประมาณดำเนินการสามารถนำมาคำนวณเป็นตัวเลขได้