สินเชื่อเพื่อการเกษตร หมายถึง สถาบันทางการเงินมีนโยบายช่วยเหลือชาวเกษตรกร เป็นการให้กู้แก่เกษตรกรรายบุคคล ที่ไม่ได้เป็นสมาชิกของสหกรณ์การเกษตร หรือกลุ่ม เป็นเงินหมุนเวียนในการทำนาส่วนผสมที่คุณต้องการ อย่างเช่น การซื้อพันธุ์ข้าว การซื้อพันธุ์สัตว์ หรือการซื้อปุ๋ย รวมถึงอุปกรณ์การเกษตรต่าง ๆ ที่มีความจำเป็นที่คุณต้องใช้งาน ทั้งนี้เกษตรกรสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทด้วยกัน ก็คือ เงินกู้ระยะสั้น, เงินกู้ระยะปานกลาง และเงินกู้ระยะยาว
-
เงินกู้ระยะสั้น
เป็นจำนวนเงินที่สถาบันทางการเงินให้ชาวเกษตรกรกู้เพื่อเป็นค่าใช้จ่าย ในการดำเนินงานทางการเกษตร ในฤดูกาลหนึ่ง อย่างเช่น ซื้อปุ่ย จ่ายค่าเช่า ค่าเมล็ดพันธุ์พืช และการกู้เงินแบบนี้จะมีระยะเวลาในการชำระคืนเงินกู้ ภายในช่วงเวลาไม่เกิน 12 เดือน
-
เงินกู้ระยะปานกลาง
เป็นจำนวนเงินที่ให้ชาวเกษตรกรได้กู้ เพื่อนำไปลงทุนในทรัพย์สินทางการเกษตร โดยมีการกำหนดระยะเวลาในการชำระคืนเงินกู้ ภายใน 3 – 5 ปี
-
เงินกู้ระยะยาว
เป็นจำนวนเงินที่ให้ชาวเกษตรกรกู้เพื่อวัตถุประสงค์ 2 อย่าง นั่นก็คือ เกษตรกรผู้กู้เพื่อนำเงินไปชำระหนี้เดิม และเพื่อการลงทุนในระยะยาวทางด้านเกษตร ซึ่งคุณสามารถผ่อนชำระได้ยาวนานขึ้นมากกว่า 5 ปี
การที่ทางสหกรณ์การเกษตร ให้เกษตรกรได้กู้ก็เพื่อช่วยเหลือให้ชาวเกษตรกรสามารถดำเนินธุรกิจทางด้านการเกษตรได้มากขึ้น เพิ่มสภาพคล่องทางการเงิน สามารถนำเงินส่วนนี้ไปเป็นเงินหมุนเวียนในการทำเกษตรได้เป็นอย่างดี และเพื่อการซื้อวัสดุที่จำเป็นสำหรับเกษตรสามารถซื้อได้ในราคาถูกกว่าราคาขายปลีกในท้องตลาด ธนาคารมีส่วนช่วยสนับสนุนและส่งเสริมให้สหกรณ์การเกษตรบรรลุวัตถุประสงค์ข้างต้น โดยเป็นแหล่งเงินกู้ให้กับสหกรณ์การเกษตร
จุดประสงค์ของสินเชื่อเพื่อการเกษตร
- เพื่อให้เกษตรกรมีเงินหมุนเวียนในการดำเนินธุรกิจ
- เป็นการเพิ่มสภาพคล่องทางการเงิน ให้สามารถนำไปลงทุนทางการเกษตรเพิ่มเติมได้
- เพื่อเป็นเงินสำรองสำหรับการดำเนินงานทางการเกษตร และช่วยเหลือให้สภาพความเป็นอยู่ของชาวเกษตรกรทุกคนมีชีวิตที่ดีขึ้น
รายละเอียดเกี่ยวกับสินเชื่อเพื่อการเกษตร
- วงเงินสินเชื่อ
ธนาคารพาณิชย์จะให้สินเชื่อโดยพิจารณาจากหลักทรัพย์ค้ำประกันเป็นสำคัญ ปริมาณสินเชื่อที่คุณจะสามารถกู้ได้ต่อรายนั้นมีการแปรผันตามมูลค้าของหลักทรัพย์ค้ำประกัน เกษตรกร ที่มีพื้นที่ทำการเกษตรน้อยหรือไม่มีเลย หรือจำเป็นต้องเช่าทางธนาคารพาณิชย์จะให้สินเชื่อในรูปกลุ่ม ซึ่งจะได้วงเงินสินเชื่อเพียง 3,000 – 10,000 บาทต่อราย และการให้สินเชื่อลักษณะนี้มีน้อยมากอีกด้วย
- หลักประกัน
กรณีที่ให้สินเชื่อประเภทรายบุคคล ธนาคารจะให้เกษตรกรจำนองหลักทรัพย์ อย่างเช่น ที่ดิน สิ่งปลูกสร้างที่ติดอยู่กับที่ดิน และเงินฝากเป็นประกันไว้แก่ธนาคาร หรืออาจให้บุคคลที่ธนาคารเชื่อถือเป็นผู้ค้ำประกันก็ได้ สำหรับประเภทกลุ่มธนาคารจะให้สมาชิกในกลุ่มค้ำประกันร่วมกัน หรือต้องทำสัญญา เงินกู้ระยะสั้นไว้กับธนาคาร โดยยินยอมมอบผลิตผล อันเกิดจากการกู้เงิน เป็นหลักประกันแก่ธนาคารด้วย
- อัตราดอกเบี้ย
ธนาคารแห่งประเทศไทย ให้อิสระกับธนาคารพาณิชย์ในการกำหนด อัตราดอกเบี้ยที่ให้ผู้กู้แก่ภาคการเกษตรกรรม โดยสมาคมธนาคารไทยจะกำหนดอัตราดอกเบี้ยขั้นสูงสุดไว้ ให้ธนาคารพาณิชย์แต่ละแห่งถือปฏิบัติ ซึ่งธนาคารชั้นนำจะกำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ไว้ต่ำกว่า อัตราดอกเบี้ยขั้นสูงประมาณ 1 – 1.5% ต่อปี
- การจัดบริการแก่เกษตร
เป็นการกำกับ และควบคุมการให้สินเชื่อแก่เกษตรกร ธนาคารจะให้บริการต่าง ๆ แก่เกษตรกร อย่างเช่น การให้ความรู้ทางด้านการผลิต ความเคลื่อนไหวของราคาสินค้าและข่าวสาร การตลาด การประสานงานกับทางหน่วยงานราชการเพื่อขอรับบริการด้าน สาธารณูปโภค การให้คำแนะนำเกี่ยวกับระบบ สหกรณ์การเกษตร สำหรับด้านการกำกับการและควบคุมการให้สินเชื่อ เพื่อสินเชื่อที่ให้แก่เกษตรกรเป็นไปตามวัตถุประสงค์มากที่สุด ทางธนาคารจะส่งเจ้าหน้าที่ของธนาคารออกไปเยี่ยมเยียนลูกค้า ภายหลังจากที่ได้รับสินเชื่อแล้วเป็นระยะ ๆ อย่างไรก็ตาม การปฏิบัติดังกล่าวกระทำอยู่ไม่กี่ธนาคารเท่านั้น เนื่องจากธนาคารพาณิชย์ส่วนมากมีเจ้าหน้าที่ด้านนี้ไม่เพียงพอ และการขยายการดำเนินงานออกไปมาก จะทำให้ต้นทุนการปล่อยกู้ของธนาคารสูงขึ้น
- ประสานงานและร่วมกับสถาบันอื่น
นอกจากทางธนาคารจะปล่อยสินเชื่อ การเกษตรโดยอิสระแล้ว ยังมีการร่วมดำเนินงานกับหน่วยงานราชการ และเอกชนในรูปของโครงการได้อีกด้วย โดยทางราชการจะมีเจ้าหน้าที่จัดการหาที่ดินพร้อมทั้งบริการสาธารณูปโภค ส่วนเอกชนมีหน้าที่ปรับปรุงที่ดิน ก่อสร้างโรงเรือน ตลอดจน อบรมเกษตรกรที่ได้รับคัดเลือก สำหรับธนาคารพาณิชย์มีหน้าที่อำนวยสินเชื่อและควบคุมการดำเนินงานต่าง ๆ จนแล้วเสร็จ
สถาบันทางการเงินที่ให้สินเชื่อเพื่อการเกษตร
- ธนาคารกรุงเทพ (สินเชื่อโครงการเกษตรก้าวหน้า)
เป็นสินเชื่อที่ให้เกษตรกรกู้เพื่อนำไปลงทุนด้านเทคโนโลยี เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของการเกษตรให้ดีขึ้น ทางธนาคารสามารถช่วยคุณได้ ด้วยสินเชื่อที่จ่ายอัตราดอกเบี้ยต่ำพิเศษ สำหรับโครงการของคุณ เนื่องจากธนาคารได้ตระหนักถึงความสำคัญของการลงทุนในเทคโนโลยี และนวัตกรรมด้านการเกษตร ในฐานะของเครื่องมือที่ช่วยเพิ่มรายได้ในการเกษตร จากการลดต้นทุนในกาผลิต และการได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดียิ่งขึ้น ทำให้คุณสามารถขายสินค้าเกษตรในราคาที่ดีขึ้น
คุณสมบัติของผู้สมัคร
คุณจะต้องประกอบอาชีพทางการเกษตร ที่ต้องการลงทุนในเทคโนโลยีที่เหมาะสมและนวัตกรรมที่ดีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในกิจการของคุณ อย่างไรก็ตามสินเชื่อนี้จะพิจารณาให้แก่เกษตรกรก้าวหน้าในชนิดสินค้าที่มีการใช้เทคโนโลยี หรือนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพจัดการทั้งเรื่องการผลิตและการตลาด อย่างเช่น ฟาร์มสุกรมาตรฐาน ฟาร์มไก่ไข่ที่ทันสมัย ฟาร์มกุ้งเพื่อการส่งออก สวนกล้วยไม้เพื่อการส่งออก สวนปาล์มเพื่ออุตสากรรมต่อเนื่อง เป็นต้น
เอกสารประกอบการสมัคร
- บัตรประจำตัวประชาชน
- สำเนาทะเบียนบ้าน
- แผนงาน
หลักฐานในการขอสินเชื่อ
- หนังสือแสดงเจตจำนง (ขอรับแบบฟอร์มได้ที่ธนาคาร)
- รายละเอียดสำหรับติดต่อองค์กรที่ให้การสนับสนุน
- หนังสือแนะนำตัวจากองค์กรนั้น ๆ
- ภายถ่ายพื้นที่ทำการเกษตรของคุณ
- โฉนดที่ดินที่ตั้งโครงการของคุณ
หากคุณมีข้อสงสัยอื่น ๆ คุณสามารถติดต่อมายังธนาคารกรุงเทพ แล้วแจ้งความประสงค์ที่จะใช้บริการสินเชื่อโครงการเกษตรก้าวหน้า โทร. 0-2626-3903
หมายเหตุ : ข้อมูลทั้งหมดเรานำมาจากธนาคารกรุงเทพโดยตรง เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2559 (ทั้งนี้ข้อมูลอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ในอนาคตขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของธนาคาร)
- ธนาคาร ธกส (สินเชื่อ Smart Farmer)
วัตถุประสงค์ เป็นค่าใช้จ่ายหมุนเวียนในการประกอบอาชีพ หรือกิจการเกี่ยวเนื่องกับการเกษตร ผู้ขอกู้ก็คือเกษตรกร หรือบุคคลทั่วไป รวมถึงผู้ประกอบการ ที่ประกอบอาชีพ หรือกิจการเนื่องกับการเกษตร และมีการนำเอานวัตกรรม หรือสิ่งใหม่ ๆ ที่เกิดจากการนำความรู้ ความสามารถ รวมถึงทักษะ ความคิด เทคโนโลยี และเครื่องมืออุปกรณ์ มาใช้ในการพัฒนา เพื่อต่อยอดกระบวนการผลิต การจัดการแปรรูป ขนส่ง การตลาด และการให้บริการ
หลักประกัน
- บุคคล
- อสังหาริมทรัพย์
สำหรับอัตราดอกเบี้ย ขึ้นอยู่กับหลักประกันที่ใช้
เงื่อนไขพิเศษ
สำหรับลูกค้าที่ต้องการจัดทำประกันชีวิตแบบคุณครองวงเงินสินเชื่อ โดยการระบุให้ธนาคารเป็นผู้รับผลประโยชน์เป็นลำดับแรก – ต้องจำทำประกันวินาศภัยทรัพย์สิน ที่มีมูลค่าตั้งแต่ 500,000 บาทขึ้นไป โดยการระบุให้ธนาคารเป็นผู้รับผลประโยชน์
หมายเหตุ : ข้อมูลทางเรานำมาจากธนาคาร ธกส. โดยตรงเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2559 (ทั้งนี้ข้อมูลอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ในอนาคตขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของธนาคารฯ)
ดูสินเชื่อเพื่อการเกษตรเพิ่มเติม > คลิก <