หุ้นกลุ่มโรงพยาบาล เป็นหุ้นอีกกลุ่มที่มีความน่าสนใจในตัวของพื้นฐานเองและจุดแข็งที่ถือว่าโดดเด่นไม่แพ้หุ้นในกลุ่มอื่น ซึ่งถือว่าเป็นจุดแข็งที่ทำให้สามารถเติบโตได้อย่างดีในกิจการ และในช่วงหลายปีที่ผ่านมาหุ้นกลุ่มนี้กลับเป็นหุ้นที่ผลตอบแทนชนะตลาดโดยรวมแม้ในช่วงที่ตลาดมีความผันผวน มีหลากหลายความเห็นว่าหุ้นกลุ่มนี้ได้เติบโตตามรายได้ของคนในประเทศที่มีแนวโน้มดีขึ้นและการที่ต้องการเข้าถึงการรักษาพยาบาลของชนชั้นกลางที่มีรายได้ดีและต้องการการรักษาที่ดีขึ้นตามรายได้
เชื่อว่ามีทั้งนักลงทุนหลายท่านที่มีความเชื่อมั่นจึงได้เริ่มลงทุนในหุ้นกลุ่มนี้มานานแล้วเพราะมองเห็นการเติบโตที่ดีในอนาคตและอีกหลายคนยังไม่กล้าเข้าไปลงทุนในหุ้นกลุ่มนี้ เพราะเมื่อเรามองจากมุมมองของนักลงทุนจริงๆ เรายังถือว่าหุ้นกลุ่มนี้ราคาแพงพอสมควรซึ่งหลายคนอาจมองว่านี้คือราคาของอนาคตจริงๆ ที่อาจยังมาไม่ถึง หรือหากซื้อเพื่อรับปันผลก็ยังไม่อาจไม่คุ้มหนักอยู่ดีเพราะหุ้นกลุ่มนี้ไม่ได้ปันผลสูงแต่เป็นลักษณะของผู้ลงทุนได้ผลตอบแทนในส่วนต่างของราคาหุ้นคือ โอกาสมีทำกำไรจากส่วนต่างในการขาย (Capital gain) มากกว่าการรับปันผล แต่ด้วยแนวโน้มที่ดีเมื่อเราพูดถึงสังคมผู้สูงอายุที่คนไทยเริ่มเข้าสู้สังคมผู้สูงอายุในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า เทรนสุขภาพที่กำลังมาแรงเมื่อคนรุ่นใหม่ที่เริ่มหันมาใส่ใจดูแลตัวเองมากขึ้น หรือแม้กระทั่งการเปิด AEC และการรักษาพยาบาลของโรงพยาบาลของโรงพยาบาลเอกชนเอกในประเทศที่มีราคาไม่ถือว่าสูงมากหากเทียบกับประเทศอื่นๆ ทำให้มีชาวต่างชาติมาทำการรักษาในโรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทย นั้นถือว่าเป็นแนวโน้มที่ดีของหุ้นกลุ่มนี้
หากพูดถึงกลุ่มหุ้นนี้หลักๆ ยังคงเป็นหุ้นในกลุ่มของโรงพยาบาลเป็นหลัก หุ้นตัวอื่นที่เกี่ยวกับการแพทย์หรือบริษัทยารักษาโรคยังถือว่าได้รับความนิยมน้อยอยู่ เช่น บริษัทนำเข้าเครื่องมือแพทย์ หรือ ยารักษาโรค และในปัจจุบันที่เริ่มเป็นที่นิยมของนักลงทุนนั้นก็คือ กองทุน Healthcare ซึ่งเป็นลักษณะของการลงทุนโดยเป็นการนำเงินไปลงทุนในกองต่างประเทศอีกที โดยจะลงทุนในกลุ่มของ การแพทย์เภสัชกรรม สุขภาพการรักษาพยาบาล และหรือ เทคโนโลยีชีวภาพ (Health Care Industry) ฯลฯ ในภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก ซึ่งก็ถือว่าเป็นการกระจายความเสี่ยงในการลงทุนแทนการกระจุกตัวลงทุนในประเทศเพียงอย่างเดียว ซึ่งถือว่าน่าสนใจไม่น้อย แต่ยังมีความเสี่ยงอยู่บ้าง ยกตัวอย่างเช่น เรื่องของ ลิขสิทธิ์ยาหากกองทุนเลือกลงทุนในบริษัทที่มีลักษณะของยาที่มีลิขสิทธิ์ตัวที่มีความต้องการสูงอยู่ ทำให้ผลตอบแทนก็อาจจะมีแนวโน้มดีแต่หากหมดลิขสิทธิ์ลงก็อาจมีบริษัทอื่นๆ ได้ลิขสิทธิ์แทน เป็นต้น
แต่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมากองทุน Healthcare กองแม่ในต่างประเทศมีแนวโน้มเติบโตที่ดีมาตลอดจนถึงปัจจุบันที่เริ่มมีการผัวผวนของราคาทำให้นักลงทุนเริ่มตั้งข้อสงสัยและหาสาเหตุของราคาที่ได้เกิดมีการปรับตัวลงมาพอสมควรโดยที่นักลงทุนคาดการณ์ว่าส่วนหนึ่งมาจากนโยบายหาเสียงประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ของฮิลลารี่ คลินตันซึ่งเป็นผู้สมัครประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่ต้องการลดราคายาลงมา นักลงทุนจึงกังวลว่า ถ้าฮิลลารีได้รับเลือกในการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในช่วงปลายปีนี้จริง จะส่งผลให้กำไรของบริษัทยาอาจลดลงและหากได้เป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯ ก็น่าจะส่งผลทำให้ราคายาอาจถูกควบคุมอีกหลายปีซึ่งก็เป็นการคาดการ
แต่เราได้อะไรจากบทเรียนเรื่อง กองทุน Healthcare เมื่อลองเปรียบเทียบกับหุ้นกลุ่มโรงพยาบาล ซึ่งวันนี้การชะลอตัวของเศรษฐกิจในประเทศเองก็ยังไม่ส่งผลกระทบต่อผลประกอบการของหุ้นกลุ่มนี้เลย เพราะพื้นฐานที่ค่อนข้างแข็งแกร่ง หากเราลองย้อนถามกลับตัวเองด้วยเหตุผลข้างต้นอย่างที่ได้นำเสนอมาแล้วนั้นจะพบว่านั้นคือจุดแข็งที่เราพบไม่ได้มากนักจากหุ้นกลุ่มอื่นๆ เมื่อเราเจ็บป่วยเป็นการยากที่เราจะต่อรองค่ารักษาพยาบาล เนื่องจากค่ารักษาพยาบาลดังกล่าวโรงพยาบาลแต่ละแห่งเองก็มีอัตราค่ารักษาพยาบาลที่แตกต่างกัน อันอาจมาจากหลายสาเหตุไม่ว่าจะเป็นตัวยาที่แตกต่างกัน การบริการ ห้องผู้ป่วย ซึ่งล้วนแต่เป็นต้นทุนที่สร้างความแตกต่างทำให้เกิดค่ารักษาพยาบาลมีอัตราค่าบริการที่ไม่เท่ากัน
แต่หุ้นทุกตัวในตลาดมีจุดแข็งย่อมมีจุดอ่อนมีข้อดีย่อมมีข้อเสียสิ่งที่เราได้เรียนรู้จากกองทุน กองทุน Healthcare น่าจะเป็นต้นแบบที่ทำให้เราเรียนรู้ได้เช่นกัน ว่าในตลาดย่อมมีความกังวลถึงแม้จะยังไม่เกิดขึ้น ฉะนั้นในการลงทุนไม่ว่าจะเป็นหุ้นที่พื้นฐานแข็งแกร่งขนาดไหนแต่ข่าวร้ายย่อมส่งผลได้เช่นกัน การติดตามข่าวสารย่อมทำให้เราได้เปรียบเสมอ แต่นักลงทุนเองควรเป็นผู้ตัดสินใจด้วยตนเองว่าจะตื่นตกใจไปกับข่าว หรือจะพิจารณาในถี่ถ้วนว่าข่าวดังกล่าวนั้นส่งผลมากน้อยกับหุ้นของเราขนาดไหนเพราะในตลาดหุ้นนั้นข่าวดีและข่าวร้ายมีทุกวัน ขึ้นชื่อว่านักลงทุนย่อมต้องหาทางออกอย่างมีสติครับ