หากมีเงินเก็บสะสมและต้องการเพิ่มพูนเงินให้มากขึ้น ก็ต้องหาหนทางในการสร้างรายได้ด้วยวิธีการต่าง ๆ ซึ่งมีให้เลือกหลายหนทาง โดยการนำเงินไปลงทุนก็เป็นทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจและการลงทุนในตลาดหุ้นก็เป็นสิ่งที่ให้ผลตอบแทนที่มากที่สุดในการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงทั้งหมด โดยการลงทุนในตลาดหุ้นผลตอบแทนที่ได้มักจะเป็นไปในทิศทางเดียวกันความเสี่ยงเพราะผู้ลงทุนไม่สามารถคาดการณ์เหตุการณ์แน่ชัดที่อาจเกิดขึ้นได้ และหากผู้ใดสามารถคาดคะเนโดยศึกษาข้อมูลรายละเอียดต่าง ๆ พร้อมวิเคราะห์ได้อย่างใกล้เคียง ก็จะทำให้นักลงทุนผู้นั้นได้กำไรที่สูงจากการขายหุ้นดังกล่าว แต่หากผู้ใดไม่ได้ศึกษาและตัดสินใจซื้อขายโดยไม่มีข้อมูลอ้างอิงก็จะเกิดผลขาดทุนที่ทำให้สูญเสียเงินสะสมไปอย่างน่าเสียดาย ดังนั้น แล้วก่อนการลงทุนในตลาดหุ้น ควรทำความเข้าใจตลาดก่อนการ แบ่งเงินไปเล่นหุ้น หรือการจัดสรรเงินลงทุน เพื่อให้ได้รับผลตอบแทนที่ยอมรับได้ในระดับความเสี่ยงหนึ่ง ๆ ด้วยวิธีการดังนี้
ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับภาพรวมตลาด
โดยศึกษาข้อมูลภาคอุตสาหกรรมที่สนใจหรืออาจศึกษาทั้งหมดแล้วตัดสินใจเลือกอุตสาหกรรมที่สนใจและมีแนวโน้มตลาดที่ดี โดยพิจารณาจากภาวะเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจในประเทศไทย เช่น ดัชนีชี้วัดเงินเฟ้อ ตัวชี้วัด GDP ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค เป็นต้น นโยบายการเงินการคลังของต่างประเทศและในประเทศอย่างธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา (เฟด) หรือธนาคารกลางสหภาพยุโรป และของประเทศอื่น ๆ รวมถึงไทย เช่น การกำหนดอัตราดอกเบี้ย การออกพันธบัตร การให้เงินอัดฉีดต่าง ๆ เป็นต้น การเมืองการปกครอง นโยบายรัฐบาลทั้งในและต่างประเทศอย่างการกระตุ้นเศรษฐกิจ การค้าขายระหว่างประเทศ ราคาน้ำมันโลก สภาพภูมิอากาศ ความเคลื่อนไหวของบริษัทหรือประเทศมหาอำนาจในด้านต่าง ๆ
และเมื่อศึกษาข้อมูลตลาดอุตสาหกรรมต่าง ๆ แล้ว ก็ต้องตัดสินใจเลือกหลักทรัพย์หรือหุ้นอุตสาหกรรมที่สนใจและได้ศึกษาข้อมูลทั้งเชิงคุณภาพอย่าง
- การบริหารภายใน
- นโยบายบริษัท
- วิสัยทัศน์ พันธกิจ
- การถือหุ้น
- การก่อหนี้ของบริษัท
- การลงทุนของบริษัท
- การซื้อขายสินทรัพย์ของบริษัท
- ผลิตภัณฑ์ของบริษัทที่เสนอแก่ลูกค้าเป้าหมาย
- ผลประกอบการ ข้อมูลทางการเงิน (รายรับ รายจ่าย กำไรสุทธิ อัตราส่วนทางการเงินต่าง ๆ อันบ่งชี้ถึง สภาพคล่องทางการเงิน ความสามารถในการทำกำไร ประสิทธิภาพการดำเนินกิจการ และการก่อหนี้ของบริษัท)
ซึ่งปรากฏอยู่ในรายงานประจำปี พร้อมทั้งดูรายละเอียดรายงานการเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นประกอบ โดยข้อมูลทั้งหมดสามารถนำมาวิเคราะห์ธุรกิจได้ทั้งเชิงปัจจัยพื้นฐานและปัจจัยทางเทคนิคเพื่อให้ทราบว่าควรลงทุนในหุ้นตัวใดแล้ว จะมีแนวโน้มที่ดีขึ้นหรือลดลง
อ่านเทคนิคลองทุนแบบ >> เสี่ยป๋อง วัชระ แก้วสว่าง กับการบริหารเงินสู่เซียนหุ้นพันล้าน <<
การลงทุนในตลาดหุ้นควรลดความเสี่ยงให้มากที่สุด ด้วยวิธีการกระจายการลงทุน
โดยแบ่งเงินเพื่อลงทุนในหุ้นในอุตสาหกรรมเดียวกันหลายตัว และ ลงทุนในหุ้นหลายอุตสาหกรรม เนื่องจากหากมีปัจจัยภายนอกอย่างภาวะเศรษฐกิจ นโยบายรัฐบาลเรื่องการคลัง เปลี่ยนแปลงไป จะมีผลกระทบต่อระดับราคาหุ้นบางตัวที่อาจลดลง และบางตัวอาจเพิ่มขึ้น ซึ่งวิธีการจัดสรรเงินเพื่อลงทุนได้อย่างเหมาะสมจะทำให้มีผลตอบแทนเพิ่มขึ้น
เริ่มต้นจัดสรรเงินรายได้ออกตามวัตถุประสงค์การใช้จ่าย
เช่น
- เพื่อการใช้จ่ายประจำวัน (ค่าบริโภค อุปโภค ค่าใช้จ่ายรื่นเริง ค่าเดินทาง)
- เพื่อการใช้จ่ายยามฉุกเฉิน (ค่ารักษาพยาบาล ค่าเทอมการศึกษา)
- เพื่อการใช้จ่ายพิเศษ (ค่าของขวัญเทศกาล ค่าใช้จ่ายท่องเที่ยว)
- เพื่อการใช้จ่ายในการลงทุน (หุ้น กองทุน เงินฝาก หรือซื้อสินทรัพย์แล้วให้เช่าพักอาศัย) เป็นต้น
ซึ่งการจัดสรรเงินรายได้จะทำให้ทราบว่าจะมีการใช้จ่ายส่วนใดบ้างที่จำเป็นและแต่ละส่วนจะเป็นเงินสัดส่วนเท่าใด ซึ่งการนำเงินรายได้ไปลงทุนในตลาดหุ้นควรเป็นเงินสะสมซึ่งไม่มีความจำเป็นต้องใช้เร่งด่วนอย่างเงินที่ได้แบ่งส่วนไว้เพื่อการลงทุน เพราะการลงทุนในตลาดหุ้นจะมีความผันผวนด้านราคาหุ้นตลอดเวลา ไม่สามารถคาดเดาได้ถูก ดังนั้นต้องต้องเป็นเงินส่วนที่สามารถรับส่วนสูญเสียได้และอาจจมอยู่ในตลาดหุ้นนานเพื่อการเก็งกำไร หรือเพื่อการลงทุนเพื่อผลตอบแทนในเงินปันผล
การจัดสรรเงินรายได้เพื่อการลงทุนในตลาดหุ้น
อาจพิจารณาจากช่วงวัยของผู้ลงทุน
- หากผู้ลงทุนอยู่ในช่วงวัยเรียน ยังไม่มีรายได้ มีเพียงเงินเก็บที่ได้จากผู้ปกครอง ควรเริ่มต้นลงทุนในตลาดหุ้นเพียง 50% เพราะการลงทุนในหุ้นมีความเสี่ยงที่อาจไม่ได้รับเงินคืนทั้งหมด
- ในช่วงวัยเริ่มต้นทำงานควรเน้นลงทุนในหุ้นประมาณ 80% เพราะเป็นช่วงอายุที่ยังสามารถทำมาหาได้อีกนาน จึงควรลงทุนในหุ้นที่สร้างผลตอบแทนสูง
- ในช่วงวัยทำงานสร้างครอบครัวควรเน้นลงทุนในหุ้น 60% เพราะเป็นช่วงอายุที่มีภาระที่ต้องรับผิดชอบสูง จึงควรลดสัดส่วนความเสี่ยงที่อาจไม่ได้รับเงินต้นและผลตอบแทนตามที่คาดไว้ให้น้อยลง
- สำหรับช่วงวัยใกล้เกษียณจนถึงวัยเกษียณควรเน้นลงทุนในหุ้นประมาณ 20% เพราะเป็นช่วงอายุที่มีอายุงานเหลือไม่มากและหลังเกษียณก็ไม่สามารถทำรายได้ได้อีก จึงควรลดความเสี่ยงจากการลงทุนให้น้อยที่สุด
อย่างไรก็ตามหากสามารถจัดสรรเงินสำหรับการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงประเภทหุ้นได้แล้วแต่ไม่มีความรู้ความเข้าใจในปัจจัยภายในและภายนอกที่มีผลกระทบต่อหุ้นของบริษัทที่ลงทุน ไม่ทราบเทคนิคในการวิเคราะห์เชิงพื้นฐานและเทคนิค ก็ควรปรึกษาผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในการลงทุน เพื่อเป็นผู้ช่วยให้การแนะนำในการตัดสินใจเลือกซื้อหุ้น ขายหุ้น หรือถือหุ้นต่อไปเพื่อทำกำไร บนพื้นฐานข้อมูลที่ได้รับการวิเคราะห์แล้ว ซึ่งก็จะมีส่วนช่วยให้เงินที่ลงทุนไปมีโอกาสสูญเสียน้อยลง