ในการซื้อบ้านเป็นของตัวเองสักหลังหนึ่งมีน้อยคนนักที่จะซื้อด้วยเงินสด ส่วนใหญ่จะต้องซื้อโดยอาศัยเงินเก็บส่วนหนึ่งของตนเป็นเงินดาวน์ ส่วนที่เหลือมักเป็นเงินก้อนใหญ่ที่ผู้ซื้อบ้านมักจะขอสินเชื่อแทบทั้งสิ้น แต่ปัญหาคือ บางท่านไม่เคยขอสินเชื่อมาก่อนเลยในชีวิตจึงอาจไม่เข้าใจแจ่มชัดในเรื่องต่างๆ ตั้งแต่ขั้นตอนการขอสินเชื่อ หลักฐานที่ต้องใช้ในการกู้ ระยะเวลาการรอรับคำอนุมัติ รวมถึงหลักเกณฑ์ที่ทางธนาคารใช้พิจารณาในการปล่อยสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย เป็นต้น เพื่อเป็นการให้ข้อมูลข่าวสารแก่ผู้ซื้อบ้าน และช่วยในการตัดสินใจสำหรับผู้ที่ยังใหม่ในการ ขอสินเชื่อที่อยู่อาศัย
“การกู้เงินเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย” อันได้แก่ซื้อบ้านพร้อมที่ดิน หรือซื้ออาคารชุดแล้วนั้น ผู้กู้สามารถขอกู้เงินเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยอื่นอีกหลายประการ
ได้แก่เพื่อซื้อที่ดินเปล่า เพื่อการปลูกสร้างที่อยู่อาศัยของตนในอนาคตเพื่อปลูกสร้างบ้านบนที่ดินของตนเองเพื่อต่อเติม หรือซ่อมแซมอาคารของตนเพื่อชำระหนี้ที่เกี่ยวพันกับที่อยู่อาศัยเพื่อไถ่ถอนหนี้ที่อยู่อาศัยจากสถาบันการเงินอื่นโดยทั่วไป “สินเชื่อที่อยู่อาศัย” ที่สถาบันการเงินต่างๆ ปล่อยให้กับผู้กู้รายย่อยมักจะครอบคลุมสินเชื่อต่างๆ ดังที่กล่าวมานี้
มีผู้ซื้อบ้านจำนวนมากที่ทำการพิจารณาอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของสถาบันการเงินต่างๆ แล้วพบว่าบางแห่งกำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เท่ากัน เหตุไฉนเงินงวดรายเดือนจึงแตกต่างกัน
ข้อเท็จจริงคือว่า การกู้ในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยต่ำ ผู้กู้จะเสียเงินงวดน้อยลง แต่ก็จะมีความเสี่ยงเกี่ยวกับปัญหาการชำระเงินงวดขึ้นได้ในภายหลังกรณีที่อัตราดอกเบี้ยต่อมาได้ปรับตัวสูงขึ้น จนทำให้เงินงวดต่อเดือนที่ผู้กู้ผ่อนชำระกับธนาคารไม่พอชำระดอกเบี้ยที่เกิดขึ้น ทำให้ธนาคารต้องคิดเงินงวดที่สูงขึ้นและแจ้งให้ลูกค้ามาชำระเงินงวดมากกว่าที่เคยชำระเดิม ซึ่งบางครั้งหากอัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวสูงขึ้นมาก จะทำให้ผู้กู้ไม่สามารถชำระเงินงวดที่เพิ่มขึ้นได้ และเกิดอาการที่เรียกว่า “ความตกใจในเงินงวดที่เพิ่มขึ้น” (Payment Shock) ก่อปัญหาทั้งแก่ผู้กู้และสถาบันการเงินที่ต้องมีหนี้ค้างชำระเพิ่มขึ้นตามมา ดังนั้น หากผู้กู้กู้เงินแบบอัตราดอกเบี้ยลอยตัวในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยต่ำ จึงต้องระวังในกรณีนี้ด้วย อย่างไรก็ตามเพื่อช่วยลูกค้าและป้องกันปัญหาข้างต้นแม้ว่าธนาคารต่างๆ จะคิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ตามประกาศจริง
แต่มีบางธนาคารใช้วิธีการคำนวณเงินงวดเพื่อการชำระหนี้รายเดือน (Monthly Repayment) โดยคิดเพิ่มจากอัตราดอกเบี้ยจริงบวกด้วย 1-3% ดังนั้น จึงทำให้เงินงวดที่ผ่อนชำระของแต่ละธนาคารอาจแตกต่างกันได้ ทั้งที่อัตราดอกเบี้ยตามประกาศเท่ากัน สำหรับธนาคารอาคารสงเคราะห์ใช้วิธีการคำนวณเงินงวดเพื่อการชำระหนี้รายเดือน กรณีเป็นอัตราดอกเบี้ยลอยตัว โดยคิดเพิ่มจากอัตราดอกเบี้ยจริงบวกด้วย 1% การคิดเงินงวดเพิ่มดังกล่าวไม่เป็นผลเสียแก่ผู้กู้แต่ประการใด ตรงกันข้ามกลับจะเป็นประโยชน์ด้วยซ้ำ เพราะหากอัตราดอกเบี้ยเพิ่มในภายหลัง ไม่ถึงกลับทำให้เงินงวดเดิมไม่พอตัดดอกเบี้ยธนาคารจะได้ไม่ต้องแจ้งลูกค้าให้มาชำระเงินงวดเพิ่ม ซึ่งจะก่อปัญหาการค้างชำระหนี้ตามมาได้ง่าย แต่หากอัตราดอกเบี้ยไม่เพิ่มขึ้นในภายหลัง หรือกลับลดลง เงินงวดที่ลูกค้าจ่ายเกินไว้ก็จะไปตัดเงินต้นมากขึ้น และส่งผลให้หนี้เงินกู้หมดเร็วขึ้นกว่าที่ระบุในสัญญากู้ เช่น กู้นาน 20 ปี อาจเหลือ 18-19 ปี เป็นต้น
อ่านเพิ่มเติม >> คำนวณกู้บ้าน <<
เมื่อผู้ซื้อบ้านคิดจะกู้เงิน มักตั้งคำถามกับตัวเองเสมอว่าจะกู้ในระยะไหนดีกว่ากัน
ดังนั้นหากผู้กู้มีความสามารถที่จะชำระคืนเงินกู้ได้เร็วที่สุดก็ยิ่งดีเท่านั้นเพราะจะทำให้ผู้กู้เป็นอิสระ อย่างไรก็ตามผู้กู้บางท่านที่ต้องการวงเงินกู้ค่อนข้างสูง ในขณะที่ความสามารถในการผ่อนชำระที่ค่อนข้างต่ำ ถ้าเป็นเช่นนี้จำเป็นต้องขยายเวลากู้ออกไปให้นานที่สุดเป็น 25-30 ปีเพื่อที่จะให้เงินงวดลดลงจนถึงจุดที่สามารถผ่อนชำระได้ ทั้งนี้ เพราะในเงินกู้เท่ากัน อัตราดอกเบี้ยเท่ากันยิ่งใช้เวลาผ่อนนานมากขึ้น เงินงวดก็จะยิ่งลดลง แต่ถ้าหากเล็งเห็นว่าอนาคตอันใกล้นั้นตนเองอาจมีภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มภายในครอบครัว อาจทำให้การเงินฝืดเคืองเกิดปัญหาในการผ่อนชำระได้ หากรู้สึกเช่นนั้นเพื่อความสบายใจและปลอดภัยไว้ก่อน จึงอาจขอระยะเวลาการกู้ออกไปให้นานที่สุดก็เป็นได้
ดูเรื่องดอกเบี้ยยังไงดี ?
ในปัจจุบันเงินกู้ที่อยู่อาศัยของสถาบันการเงินแตกต่างกัน โดยอัตราดอกเบี้ยลอยตัวมีตั้งแต่ 4.50-5.25% และอัตราดอกเบี้ยคงที่ 2 ปีประมาณ 3.50-3.75% จะเห็นได้ว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ห่างกันเพียง 1-2% นับว่ามีความหมายมากเพราะจะทำให้ผู้ผ่อนมีภาระเพิ่มขึ้น หรือเบาแรงค่าผ่อนชำระได้ไม่น้อยการหาสินเชื่อหรือแหล่งเงินกู้ผู้กู้ต้องพิจารณากับสถาบันการเงินที่มีดอกเบี้ยต่ำที่สุด เพื่อประหยัดค่าผ่อนชำระ อย่างไรก็ตาม นอกจากจะดูเรื่องดอกเบี้ยแล้ว ผู้กู้ต้องดูค่าใช้จ่ายอื่นๆจากการกู้ เช่น ค่าธรรมเนียมการประเมิน และค่าธรรมเนียมการยื่นกู้ เป็นต้น
ปัจจุบันธนาคารต่างๆ คิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่อยู่อาศัยแตกต่างกันออกไป ถือว่าเป็นช่วงเวลาที่น่าสนใจหรือไม่?
อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่อยู่อาศัย ที่ธนาคารต่างๆเสนอในขณะนี้ จะมีทั้งแบบ “อัตราดอกเบี้ยลอยตัว” (Floating rate) และแบบ” อัตราดอกเบี้ยคงที่” (Fixed rate) อัตราดอกเบี้ยลอยตัว หมายถึง อัตราดอกเบี้ยที่กำหนดมาแล้ว จะไม่อยู่คงที่ลอยตัวตลอดระยะเวลากู้ โดยธนาคารสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามที่เห็นสมควร ตามสถานการณ์สภาพคล่องในระบบการเงิน หรือตามต้นทุนการเงินของธนาคาร
อ่านเพิ่มเติม >> ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ ดอกเบี้ยเงินกู้ <<